ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

บทความวิชาการ
เรื่อง หลักการของแมสสเปคโทรเมทรีและการประยุกต์ใช้ในงานด้านพิษวิทยา
ชื่อบทความ เรื่อง หลักการของแมสสเปคโทรเมทรีและการประยุกต์ใช้ในงานด้านพิษวิทยา
ผู้เขียนบทความ อาจารย์ เภสัชกร ดร.อภินันท์ หงษ์ประสิทธิ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-003-03-2568
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 13 มี.ค. 2568
วันที่หมดอายุ 12 มี.ค. 2569
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
แมสสเปคโทรเมทรี (Mass spectrometry: MS) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่สำคัญในงานพิษวิทยา เนื่องจากมีความไวและความแม่นยำในการแยกและระบุสารพิษในตัวอย่างชีวภาพและสิ่งแวดล้อม การเชื่อมต่อเทคนิค MS กับเทคนิคการแยกอื่นๆ เช่น โครมาโทกราฟีของเหลว (LC) และโครมาโทกราฟีแก๊ส (GC) ทำให้เกิดระบบของเครื่องมือที่สามารถตรวจวิเคราะห์สารที่หลากหลายได้ เทคนิค GC-MS ถูกใช้ในงานพิษวิทยาเพื่อตรวจคัดกรองสารพิษหรือยาที่สามารถระเหยได้ ขณะที่ LC-MS สามารถวิเคราะห์สารพิษหรือยาที่ไม่สามารถระเหยหรือไวต่อความร้อนได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS) สำหรับการวิเคราะห์โลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท และสารหนู การพัฒนาความสามารถของ MS ช่วยยกระดับการตรวจวิเคราะห์ในงานพิษวิทยาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และช่วยให้สามารถตรวจคัดกรองสารพิษในงานพิษวิทยาคลินิกและพิษวิทยานิติเวชได้อย่างแม่นยำ
คำสำคัญ
พิษวิทยาเป็นสาขาวิชาที่เน้นการศึกษาเรื่องสารพิษ วิธีที่ร่างกายสัมผัสและได้รับสารพิษเหล่านี้ การตอบสนองของร่างกายต่อสารพิษ