ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

บทความวิชาการ
ไมโครอิมัลชันในการนำส่งยาที่ชอบไขมันผ่านทางผิวหนัง
ชื่อบทความ ไมโครอิมัลชันในการนำส่งยาที่ชอบไขมันผ่านทางผิวหนัง
ผู้เขียนบทความ ปนัดดา วิทยานุกูลลักษณ์, วรนันท์ รังสิมาวงศ์ , ปราณีต โอปณะโสภิต
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-002-03-2568
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 มี.ค. 2568
วันที่หมดอายุ 20 มี.ค. 2569
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การนำส่งยาทางผิวหนังนับเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่าสนใจในการแก้ไขข้อจำกัดของการบริหารยาทางปากและการให้ยาโดยการฉีด และถือเป็นแนวทางที่พร้อมจะเป็นระบบนำส่งยาที่มีศักยภาพ เนื่องจากบริหารยาได้ง่าย เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ความเป็นพิษต่อร่างกายต่ำ ออกฤทธิ์นาน และหลีกเลี่ยงหลีกเลี่ยงการเกิดเมแทบอลิซึมครั้งแรกที่ตับของยา อย่างไรก็ตาม การใช้งานระบบนำส่งยาทางผิวหนังมีข้อจำกัดโดยคุณสมบัติการเป็นตัวกั้นผ่านของชั้นผิวหนังและคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของตัวยาและตัวพา ยาที่มีความชอบน้ำมันสูงอาจไม่สามารถที่จะละลายอย่างสมบูรณ์ในตัวทำละลายที่เป็นน้ำหรือซึมผ่านผิวหนังได้ต่ำ ดังนั้น ระบบตัวพาสำหรับนำส่งยาทางผิวหนังจึงมีได้มีการศึกษาระบบตัวพาเพื่อเอาชนะอุปสรรคในการนำส่งยาและเพิ่มการนำส่งยาผ่านทางผิวหนัง โดยไมโครอิมัลชันเป็นระบบตัวพาแบบคอลลอยด์สำหรับใช้นำส่งยาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การใช้ไมโครอิมัลชันในการนำส่งยาทางผิวหนังมีข้อดีหลายประการ เช่น เพิ่มขีดการละลายของยา เพิ่มความสามารถในการซึมผ่านของยาทางผิวหนัง เตรียมง่าย ระคายเคืองผิวหนังต่ำ และเพิ่มความคงตัวของตำรับ เป็นต้น บทความนี้จึงมุ่งเน้นทบทวนเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของผิวหนัง ช่องทางการนำส่งยาผ่านทางผิวหนัง ความหมายและองค์ประกอบของไมโครอิมัลชัน กลไกการเพิ่มการนำส่งยาทางผิวหนังของไมโครอิมัลชัน ตลอดจนการประยุกต์ใช้ไมโครอิมัลชันในการนำส่งยาที่ชอบไขมันทางผิวหนัง
คำสำคัญ
ไมโครอิมัลชัน, การนำส่งยาทางผิวหนัง, ยาที่ชอบไขมัน