ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม (Technology transfer in pharmaceutical)
ชื่อบทความ การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม (Technology transfer in pharmaceutical)
ผู้เขียนบทความ ภก.ธรรมนูญ ด้วงโสน, นศภ.ชนันธร จิตติรัตนกุล, นศภ.ณัฐกานต์ ริเริ่มการ, นศภ.นนทวัฒน์ เสียมไหม
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-002-09-2567
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ต.ค. 2567
วันที่หมดอายุ 30 ก.ย. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนากระบวนการ ผลิตภัณฑ์ทางด้านเภสัชกรรม โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการขยายขนาดการผลิตจาก pilot batch ไปจนถึง large-scale commercial production ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในกระบวนการทางด้านผลิตภัณฑ์ยา หรือเป็นการถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ยาจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยอาศัยการทำงานที่สอดคล้องกันระหว่างสองฝ่าย เป็นไปตามบทความวิชาการฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงข้อมูลการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม ที่กล่าวถึงความหมายของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบด้วยการถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ กระบวนการและความรู้ต่างๆ เกิดขึ้นระหว่างผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี (Sending unit) และผู้รับเทคโนโลยี (Receiving unit) ที่ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนดความจำเป็นในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดตั้งทีมและวางแผนเพื่อให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพสูงสุด การดำเนินการตามแผนงาน และการติดตามและทบทวนความคืบหน้าของการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างการดำเนินการตลอดจนเสร็จสิ้นกระบวนการ รวมถึงการประเมินผล และจัดทำเอกสารเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยมีตัวอย่างการรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน SARS-CoV prototype 2 ชนิด เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ และประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านเภสัชกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองฝ่าย
คำสำคัญ
Technology transfer, Pharmaceutical process, Sending unit (ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี), Receiving unit (ผู้รับเทคโนโลยี)