ชื่อบทความ |
|
เทคโนโลยีของระบบนำส่งยาทางผิวหนัง |
ผู้เขียนบทความ |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงลลนา คงคาเนรมิตร |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1017-1-000-001-01-2567 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
การเผยแพร่บทความ |
|
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
12 ม.ค. 2567 |
วันที่หมดอายุ |
|
11 ม.ค. 2568 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
ผิวหนังประกอบด้วยชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ชั้นหนังแท้ และชั้นหนังกำพร้า ซึ่ง stratum corneum
เป็นส่วนหนึ่งของชั้นหนังกำพร้าและเป็นชั้นบนสุดของผิวหนัง ซึ่งมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการขวางกั้นการดูดซึมยาผ่านทางผิวหนัง การนำส่งยานั้นอาจมีเป้าหมายให้ยาคงอยู่ที่บริเวณต่าง ๆ ภายในผิวหนัง หรือผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสโลหิต (transdermal delivery) สำหรับกลไกการดูดซึมยาผ่านผิวหนังนั้นสัมพันธ์กับสมบัติของผิวหนัง สมบัติของยาหรือสาร และสมบัติของยาพื้นหรือระบบนำส่งยา ปัจจุบันระบบนำส่งยาทางผิวหนังอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ระบบที่ใช้การแพร่ (passive method) ตัวอย่างเช่น transdermal patch, nanoemulsions, microemulsions, solid lipid nanoparticles, nanostructured lipid carriers, flexible liposomes, niosomes 2. ระบบที่ใช้การกระตุ้นทางกายภาพ (active method) ตัวอย่างเช่น iontophoresis, electroporation, cavitational ultrasound, thermal ablation, laser ablation, microneedles, jet injector อย่างไรก็ตามการพัฒนาต่าง ๆ ก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบที่ผสมผสานทั้งการแพร่และการกระตุ้นทางกายภาพร่วมกัน การพัฒนาระบบนำส่งในการให้วัคซีน การพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ที่มีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับและให้การรักษาด้วยยาผ่านทางผิวหนังได้
ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยและประสิทธิผลในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ
ระบบนำส่ง, ผิวหนัง, การแพร่, กระตุ้นทางกายภาพ