0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
Tezepelumab: anti-TSLP antibody สำหรับใช้ในการรักษาโรคหืดชนิดรุนแรง
ชื่อบทความ
Tezepelumab: anti-TSLP antibody สำหรับใช้ในการรักษาโรคหืดชนิดรุนแรง
ผู้เขียนบทความ
ผศ.ดร.ภญ.รุ่งเพชร แก้วเกษ
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม
1008-1-000-002-12-2566
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
25 ธ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ
24 ธ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันมียาชีววัตถุ (biologic agent) หลายชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคหืดชนิดรุนแรง (severe asthma) ได้แก่ omalizumab, mepolizumab, reslizumab, benralizumab และ dupilumab เป็นต้น ยาชีววัตถุส่วนใหญ่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะเจาะจงต่อเป้าหมายบางชนิด เช่น immunoglobulin E (IgE), interleukin-5 (IL-5), IL-4 หรือ IL-13 ซึ่งมีข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยโรคหืดชนิดรุนแรงที่มีเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil สูง (eosinophilic asthma) หรือโรคหืดชนิด allergic asthma ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยโรคหืดชนิดรุนแรงที่มี eosinophil ต่ำ มักไม่ค่อยตอบสนองต่อการใช้ยาชีววัตถุเหล่านี้ ยา tezepelumab เป็น human monoclonal antibody มีกลไกการออกฤทธิ์โดยจับกับ thymic stromal lymphopoietin (TSLP) โดย TSLP เป็นไซโตไคน์ที่หลั่งมาจากเซลล์เยื่อบุบริเวณทางเดินหายใจเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ มลพิษทางอากาศ เชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย TSLP จะเหนี่ยวนำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ทางเดินหายใจ ดังนั้นการพัฒนายา tezepelumab ซึ่งสามารถยับยั้ง TSLP โดยตรงซึ่งเป็นต้นทางของกระบวนการอักเสบ จึงน่าจะให้ผลในการรักษาผู้ป่วยโรคหืดชนิดรุนแรงได้ครอบคลุมมากกว่า การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 ซึ่งทำการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา tezepelumab ในการรักษาโรคหืดชนิดรุนแรง พบว่า tezepelumab สามารถลดอัตราการกำเริบเฉียบพลัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มีความปลอดภัยในการใช้ นอกจากนี้ จากการศึกษาระยะยาวเป็นเวลา 2 ปี พบว่า tezepelumab มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการได้ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา อย่างไรก็ตาม tezepelumab ไม่มีผลช่วยลดขนาดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน ยา tezepelumab ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาให้ใช้ในการรักษาโรคหืดชนิดรุนแรง โดยใช้เป็นยาเสริม (add-on therapy) ในผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีอายุมากกว่า 12 ปี
คำสำคัญ
Tezepelumab, thymic stromal lymphopoietin (TSLP), โรคหืดชนิดรุนแรง (severe asthma), ยาชีววัตถุ (biologic agent)