ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
ผลของมะระขี้นกในรักษาโรคเบาหวาน: กลไกการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพทางคลินิก
ชื่อบทความ ผลของมะระขี้นกในรักษาโรคเบาหวาน: กลไกการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพทางคลินิก
ผู้เขียนบทความ ผศ.ภก.วิระพล ภิมาลย์, ผศ.ดร.ภญ.ปวิตรา พูลบุตร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-1-000-001-10-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 ต.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 01 ต.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรังทางเมแทบอลิซึม ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลายล้านคนทั่วโลก การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการใช้ยา นอกจากนี้การใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในการรักษาโรคเบาหวาน มะระขี้นกจัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพทางคลินิกของมะระขี้นกในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ว่ากลไกการออกฤทธิ์ของมะระขี้นกในการลดระดับน้ำตาลในเลือดจะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับหลายกลไกได้แก่ กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน เพิ่มความไวในการตอบสนองต่ออินซูลิน ยับยั้งการดูดซึมกลูโคส ยับยั้งเอนไซม์ hexokinase ปกป้องเซลล์ของตับอ่อน และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการ gluconeogenesis การศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นกทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีและไม่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นอันตรายร้ายแรง ดังนั้นมะระขี้นกจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาโรคเบาหวาน โดยอาจใช้เสริมกับการรักษาด้วยยาที่มีการใช้ในทางคลินิกในปัจจุบัน
คำสำคัญ
มะระขี้นก เบาหวาน กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพทางคลินิก