ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

บทความวิชาการ
การอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎี เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับเภสัชกร
ชื่อบทความ การอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎี เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับเภสัชกร
ผู้เขียนบทความ ภญ.พัณณิตา วัฒเรืองชัย, ภญ.พรวลัย บุญเมือง, ภญ.วิภารักษ์ รัตนวิภานนท์, ภญ.จันทร์พร ก้องวัชรพงศ์, ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ, ภญ.ธนาพร คุ้มสว่าง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-006-02-2566
ผู้ผลิตบทความ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 20 ก.พ. 2566
วันที่หมดอายุ 19 ก.พ. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) เป็นภาวะที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย คาดว่ามีผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวประมาณร้อยละ 1.3-5 ของจำนวนประชากรทั่วไป และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการรักษาภาวะหัวใจมากขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่กลับพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวยังมีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูง โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 20 ที่ 1 ปี และร้อยละ 50 ที่ 5 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการเข้านอนซ้ำในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันยังสูงมาก โดยข้อมูลของทางโรงพยาบาลศิริราช พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลศิริราชสูงถึงถึงร้อยละ 4.4-8.2 ในช่วงปีพ.ศ. 2561-2563 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทยและของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5.5 และ 3.8 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอัตราการเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันสูงเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังได้รับการรักษาที่ต่ำกว่ามาตราฐานที่ควรจะเป็น โดยส่วนหนึ่งเกิดจากความซับซ้อนของการรักษาที่มีการใช้ยาหลายชนิด รวมถึงการขาดความรู้ความชำนาญของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวแบบสหสาขาวิชาชีพ ซึงประกอบด้วยอายุรแพทย์โรคหัวใจ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญ และเภสัชกร และร่วมทำงานกับนักกำหนดอาหาร (dietician) กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ (cardiac rehabilitation) และกลุ่มงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการรักษา (patient-centered multidisciplinary care) โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำและการเสียชีวิตลง โดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีขึ้น และส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาลดลงตามมา เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กลุ่มงานภาวะหัวใจล้มเหลว สาขาวิชาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงจัดทำโครงการการฝึกอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎีเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับเภสัชกร โดยมีจุดประสงค์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว แก่เภสัชกรและบุคลากรภายในที่เกี่ยวข้อง โดยหวังผลให้เภสัชกรเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ในการร่วมดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยต่อไป
คำสำคัญ
วิธีสมัครสมาชิก
รับชมผ่านเว็บไซต์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช ได้ที่ลิงก์ https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/pharmacy/news_detail.asp?id=150 https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/pharmacy/news_detail.asp?id=151