ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

บทความวิชาการ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Eptinezumab ในการรักษาไมเกรน
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Eptinezumab ในการรักษาไมเกรน
ผู้เขียนบทความ พจนา โกเมศมุนีบริรักษ์, ภ.ม. และ วรัญญา วิริยะสุนทร, ภ.บ. ฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-1-000-001-01-2566
ผู้ผลิตบทความ กองบริหารการสาธารณสุข
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ม.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 25 ม.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Eptinezumab เป็นยากลุ่ม calcitonin gene-related peptide (CGRP) monoclonal antibody ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.2020 สำหรับใช้รักษาและป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนในผู้ใหญ่ ยานี้บริหารทางหลอดเลือดดำครั้งละ 100 มิลลิกรัม ทุก 3 เดือน การศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า eptinezumab เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน โดยให้ผลการรักษาตั้งแต่ขนานแรกของการได้รับยาและมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาการติดตามเป็นเวลาหนึ่งปีด้วยขนาดยา 100 หรือ 300 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังพบว่ายา eptinezumab สามารถลดระยะเวลาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน (acute migraine) ได้ดี อีกทั้งเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยในผู้ป่วยที่มีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน และโรคเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากไม่พบรายงานอันตรกิริยากับยาอื่นและมีอุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ค่อนข้างน้อย ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ การอักเสบของเยื่อจมูกและลำคอ (nasopharyngitis) การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และไซนัสอักเสบซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง การศึกษาในอนาคตจำเป็นต้องประเมินเรื่องความปลอดภัยระยะยาว ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในกลุ่มประชากรอื่นๆ และการเปรียบเทียบกับยาตัวอื่นในกลุ่มเดียวกันต่อไป
คำสำคัญ
eptinezumab, calcitonin gene-related peptide monoclonal antibody, CGRP, ไมเกรน