ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

บทความวิชาการ
วิศวกรรมเอนไซม์สำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม (Enzyme engineering for pharmaceutical applications)
ชื่อบทความ วิศวกรรมเอนไซม์สำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม (Enzyme engineering for pharmaceutical applications)
ผู้เขียนบทความ นศภ. สุรพิชญ์ รัตน์เถลิงศักดิ์ และ อ.ดร.ลิตวดี เจือบุญ
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-006-11-2565
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 16 พ.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 15 พ.ย. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วิศวกรรมเอนไซม์ (Enzyme engineering) ถูกคิดค้นเพื่อปรับปรุงการทำงานของเอนไซม์ ทั้งในด้านการเร่งปฏิกิริยา เพิ่มความจำเพาะต่อสารตั้งต้น หรือเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น วิธีวิศวกรรมเอนไซม์เกี่ยวข้องกับการทำ gene mutagenesis ตามด้วยการคัดเลือกเอนไซม์กลายพันธุ์ (screening) เพื่อหาเอนไซม์กลายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีที่สุด ปัจจุบันเทคนิคนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น วิศวกรรมเอนไซม์ Alcohol dehydrogenase เพื่อสังเคราะห์สารตัวกลางของยาต้านมะเร็ง Ibrutinib ซึ่งอาศัย enzymatic cascade ทำให้ลดขั้นตอนการสังเคราะห์ยาเหลือเพียง 1 ขั้นตอน และได้ผลิตภัณฑ์แบบ (s)-stereoselectivity มากถึง 99% อีกหนึ่งตัวอย่างคือการสังเคราะห์ Islatravir ยาต้านไวรัส HIV โดยเกิดจากการทำวิศวกรรมเอนไซม์ 5 ชนิด แบบ direct evolution พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ยาได้ 51% จึงเห็นได้ว่างานวิศวกรรมเอนไซม์สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสังเคราะห์สารได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม
คำสำคัญ
ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมเอนไซม์ สังเคราะห์ยา