ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
กระท่อมและผลต่อร่างกายมนุษย์ (Kratom and effect on human body)
ชื่อบทความ กระท่อมและผลต่อร่างกายมนุษย์ (Kratom and effect on human body)
ผู้เขียนบทความ อ.ภก.ขัตติยะ มั่งคั่ง , อ.ภก.จตุรัส พูลมงคล
สถาบันหลัก มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
รหัสกิจกรรม 5004-1-000-003-12-2564
ผู้ผลิตบทความ มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 ธ.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 28 ธ.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
หลังจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้ ทำให้กระท่อมพ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งเป็นผลให้มีการซื้อขาย และบริโภคกระท่อมในชุมชนแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ผลกระทบทางสุขภาพที่จะเกิดกับผู้บริโภคในชุมชนสามารถเกิดเพิ่มมากขึ้นได้เป็นเงาตามตัวเช่นเดียวกัน กระท่อมเป็นพืชในวงศ์เข็ม หรือรูเบียซีอี (Rubiaceae) เช่นเดียวกับต้นเข็มชนิดต่าง ๆ ต้นควินิน หรือ ต้นกาแฟ โดยกระท่อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Mitragyna Speciosa Korth) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินีด้วย ในประเทศไทย พบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ชนิดที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง ลักษณะเป็นพืชยืนต้นที่สูงได้ถึง 15 เมตร ใบมีรูปวงรีสีเขียวเข้ม ก้านใบเป็นสีแดงหรือเขียวขึ้นกับสายพันธุ์ ขนาดความยาวประมาณ 18 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร โดยจะนำใบและยอดอ่อนมาบริโภคเป็นหลัก
คำสำคัญ
กระท่อม , ผลของกระท่อม