เทคนิคการกลบรสสำหรับยาน้ำชนิดรับประทาน (Taste masking for oral liquid dosage form)
ชื่อบทความ |
|
เทคนิคการกลบรสสำหรับยาน้ำชนิดรับประทาน (Taste masking for oral liquid dosage form) |
ผู้เขียนบทความ |
|
นศภ.ธนัชชา เกษรสวัสดิ์ นศภ.พนิดา ผู้ช่วย และ รศ.ดร.ภญ.ธนภร อำนวยกิจ |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-1-000-005-10-2564 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
การเผยแพร่บทความ |
|
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
26 ต.ค. 2564 |
วันที่หมดอายุ |
|
25 ต.ค. 2565 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2.75 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
ยาน้ำชนิดรับประทานใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กหรือผู้ที่มีปัญหาในการกลืน ซึ่งการบริหารยาจะต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาเข้าไป ตัวยาสำคัญที่ปลดปล่อยออกมาจึงมีโอกาสสัมผัสกับตุ่มรับรสบริเวณลิ้นได้้ ดังนั้น ความเข้าใจเรื่องการรับรสชาติในมนุษย์และเทคนิคการกลบรสจึงเป็นสิ่งจําเป็นในการพัฒนาตํารับ เทคนิคการกลบรสแบ่งเป็น 2 วิธีหลัก คือ 1.การเติมสารแต่งรสหวาน สารแต่งกลิ่น สารปรับรส หรือสารต้านรสขม 2.การสร้างชั้นป้องกันการสัมผัสของยาและตุ่มรับรส นอกจากสองวิธีข้างต้นยังมีเทคนิคอื่นๆในการกลบรสอีกหลากหลายเทคนิค การเติมสารให้ความหวานเป็นวิธีที่ง่ายและมีราคาถูกแต่สามารถกลบรสได้เพียงบางส่วน ดังนั้น เทคนิคการกลบรสด้วยการป้องกันยาสัมผัสกับตุ่มรับรสบริเวณลิ้นจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เทคนิคดังกล่าวนี้สามารถพัฒนาไปได้หลายแนวทาง เช่น เทคนิคเอนแคปซูเลชัน เทคนิคการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน เทคนิคโซลิดดิสเพอร์สชัน เทคนิคการใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออน เทคนิคการดูดซับ เป็นต้น การเลือกใช้เทคนิคในการกลบรสต้องพิจารณาสมบัติของตัวยาสำคัญที่ต้องการกลบรส รวมถึงชนิดและปริมาณของสารกลบรสประกอบกันเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการกลบรสที่ดีและเหมาะสมกับยาแต่ละตำรับ
คำสำคัญ
การกลบรส ยาน้ำชนิดรับประทาน การรับรส สารแต่งรสหวาน
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์
ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)