ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
สารเปลาโนทอลจากเปล้าน้อยกับการรักษาโรคกระเพาะอาหาร
ชื่อบทความ สารเปลาโนทอลจากเปล้าน้อยกับการรักษาโรคกระเพาะอาหาร
ผู้เขียนบทความ อาจารย์ เภสัชกร ตรัย ธารพานิช และ รองศาตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-008-09-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ต.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 04 ต.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เปล้าน้อย เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ทางการแพทย์แผนโบราณมายาวนาน ในตำรายาไทย ตำรับพระโอสถพระนารายณ์ มีปรากฏการใช้เปล้าน้อย โดยส่วนที่ใช้มี เปลือก ใบ ดอก ราก และ แก่น ให้สรรพคุณต่างกันไป โดยส่วนของเปลือกและใบจะเกี่ยวข้องกับการรักษาอาการท้องเสียและสมานแผลในกระเพาะอาหาร ดอกใช้ขับพยาธิ แก่นใช้ขับโลหิต (1) การศึกษาวิจัยสารสำคัญที่ถูกพัฒนาเป็นยาจนสำเร็จ คือ สารเปลาโนทอล (plaunotol) ที่ถูกค้นพบในส่วนใบของต้นเปล้าน้อย (Croton stellatopilosus H.Ohba) เมื่อปี ค.ศ.1978 โดย Ogiso และคณะ(2) ในเวลาต่อมาสารเปลาโนทอล มีรายงานฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารครั้งแรกในปี ค.ศ.1985(3) และได้รับการพัฒนาเป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารในที่สุด แม้ว่าปัจจุบันยานี้จะไม่มีการจำหน่ายแล้ว อาจเนื่องมาจากวัตถุดิบไม่เพียงพอ แต่สำหรับตัวสมุนไพรเองก็ยังคงมีการใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาไทยอยู่บ้าง พบอยู่ในตำรับยารักษา กิโลมกัง (พังผืดพิการ หรือ โรคริดสีดวงแห้ง) ที่มีอาการผอมแห้ง มีอาการไอหอบ และตำรับยารักษาอันตังพิการ (ลำไส้ใหญ่) มีอาการปวดท้อง ขัดอก อาเจียน อันตคุณัง (ลำไส้น้อย) มีอาการวิงเวียนหน้าตา ให้หาว เรอ จุกเสียด มีเสมหะ ร้อนในท้อง ให้ถ่ายเป็นเลือดเป็นหนอง ปวดหลัง (4) และมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีเปล้าน้อยเป็นส่วนผสมร่วมกับสมุนไพรรสร้อนอื่น เช่น ขมิ้นชัน ดีปลี ขิง พริกไทยดำ ชะพลู บรรจุในรูปแบบแคปซูล หรือ ในรูปแบบยาน้ำ นอกจากนี้มีการทำสารสกัดเปล้าน้อยด้วยตัวทำละลายเอทานอลและเฮกเซน ที่มีปริมาณเปลาโนทอลเข้มข้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 มาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง (5) เนื่องจากเปลาโนทอลเป็นสารที่ได้รับการศึกษาวิจัยในด้านกลไกการออกฤทธิ์และมีประสิทธิผลชัดเจนในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารในมนุษย์ สำหรับสารองค์ประกอบอื่นในสมุนไพรชนิดนี้ยังมีการศึกษาไม่มากนัก หากจะควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเปล้าน้อย จึงควรใช้สารเปลาโนทอล เป็นตัวชี้วัด (marker) ในบทความนี้ผู้เขียนจึงได้นำเสนอข้อมูลสำคัญของสมุนไพรเปล้าน้อย โดยเน้นไปที่สารสำคัญเปลาโนทอล ในด้านการออกฤทธิ์และประสิทธิผลทางคลินิก
คำสำคัญ