ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
เทคนิคทางเลือกสำหรับศึกษาลักษณะฟิล์มและเมมเบรน
ชื่อบทความ เทคนิคทางเลือกสำหรับศึกษาลักษณะฟิล์มและเมมเบรน
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ. ศศิประภา ชิตรัตถา และ รศ.ดร.ภก. ธวัชชัย แพชมัด
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-1-000-004-10-2564
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ต.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 30 ก.ย. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันระบบฟิล์มและเมมเบรนมีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในหลายสาขา เช่น อิเล็กทรอนิกส์ พลังงานทางเลือก เภสัชกรรม ชีววิทยา และการแพทย์ ทั้งนี้สมบัติทางเคมีกายภาพของฟิล์มและเมมเบรนถือเป็นพื้นฐานที่ควรทราบก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีกายภาพสามารถทำได้หลายวิธี โดยขึ้นกับการนำฟิล์มและเมมเบรนนั้นไปใช้ประโยชน์ด้านใด ในบางกรณีวิธีการตรวจวัดมาตรฐานไม่สามารถวิเคราะห์ลักษณะของวัสดุเหล่านี้ได้ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาเทคนิคใหม่ขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการวิเคราะห์ลักษณะเหล่านั้น บทความนี้ได้รวบรวมเทคนิคใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ลักษณะฟิล์มและเมมเบรน ได้แก่ การทดสอบสมบัติทางความร้อนพลวัติเชิงกล (dynamic mechanical thermal analysis, DMTA) ของฟิล์ม การใช้คลื่นเสียงอุลตร้าโซนิค (ultrasonic technique) เพื่อตรวจวัดขนาดของรูพรุน การวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาแบบสามมิติด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและส่องกราด (scanning transmission electron microscopy, STEM) การใช้วิธีฮิสเทอรีซิสแบบพลวัติ (dynamic hysteresis) เพื่อจำแนกลักษณะทางพื้นผิว การวัดมุมสัมผัสแบบเคลื่อนที่ (dynamic contact angle) เพื่อศึกษาการสลายตัวด้วยน้ำ และการทดสอบด้วยคลื่นวิทยุโดยไม่ทำลายตัวอย่าง (microwave nondestructive testing) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของปริมาณตัวยาสำคัญ เทคนิคใหม่ ๆ เหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเข้าใจสมบัติทางเคมีกายภาพของฟิล์มและเมมเบรนได้มากขึ้น
คำสำคัญ
เทคนิคทางเลือก การวิเคราะห์คุณสมบัติ ฟิล์ม เมมเบรน