ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
รูปแบบของวัคซีนโควิด19 ตอนที่ 2 (COVID-19 vaccine platforms part 2)
ชื่อบทความ รูปแบบของวัคซีนโควิด19 ตอนที่ 2 (COVID-19 vaccine platforms part 2)
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมจริง รุ่งแจ้ง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-007-07-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 13 ก.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 12 ก.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด 19 ข้อมูลลำดับสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 2019 ก็ถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ทำให้ทราบถึงส่วนสำคัญของไวรัสโคโรนา 2019 ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ คือส่วน spike protein (S protein) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวรัสโคโรนา 2019 ไว้ใช้จับกับตัวรับ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2 receptor) บนผิวเซลล์ของเซลล์เจ้าบ้าน เพื่อพาไวรัสเข้าเซลล์เจ้าบ้าน เพื่อไปจำลองตัว หรือเพิ่มจำนวนนั่นเอง บทความตอนที่ 2 นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัคซีนชนิดที่ใช้สารพันธุกรรมที่สามารถถอดรหัส และแปลรหัสออกมาเป็น S protein ในเซลล์เจ้าบ้านได้ เพื่อสามารถกระตุ้นให้เจ้าบ้านสร้างภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่วัคซีนชนิดกรดนิวคลิอิก ทั้งวัคซีน mRNA และ วัคซีน DNA และวัคซีน viral vector ทั้งชนิด non-replicating viral vector และ replicating viral vector ซึ่งสามารถผลิตได้ง่าย และรวดเร็ว แต่เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อน จึงยังมีข้อจำกัด และข้อสงสัยที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้ต่อไป แต่วัคซีนทั้ง 2 ชนิดได้อยู่ในบัญชีรายชื่อขององค์การอนามัยโลกที่อนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว
คำสำคัญ
วัคซีน, โควิด 19, วัคซีนชนิดกรดนิวคลิอิก,วัคซีนชนิด mRNA, วัคซีนชนิด DNA, nucleic acid vaccine, mRNA