ชื่อบทความ |
 |
การประยุกต์ใช้เคโอลินในเครื่องสำอาง |
ผู้เขียนบทความ |
 |
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศรัณยู สงเคราะห์ |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1004-1-000-003-05-2564 |
ผู้ผลิตบทความ |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
การเผยแพร่บทความ |
 |
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
 |
11 พ.ค. 2564 |
วันที่หมดอายุ |
 |
10 พ.ค. 2565 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
เคโอลิน (kaolin) หรือ ดินขาว จัดเป็นเคลย์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งแต่อดีตกาลมนุษย์ได้มีการนำเคโอลินมาใช้ประโยชน์นานับประการ ได้แก่ ใช้เพื่อผลิตเครื่องเคลือบดินเผาหรือเครื่องกระเบื้องและใช้ในการผลิตกระดาษ นอกจากนี้ยังมีการใช้ในทางการแพทย์, เภสัชกรรม และเครื่องสำอาง เคโอลินประกอบด้วย hydrated aluminum silicate มีแร่เคโอลิไนต์ (kaolinite) เป็นองค์ประกอบหลัก ข้อดีของเคโอลินมีหลายประการ เช่น มีเนื้อสัมผัสที่ดี, มีความสามารถในการเคลือบคลุมผิว, ดูดซับของเหลว เช่น น้ำ รวมทั้งสารพิษ (toxins) ได้ รวมทั้งเป็นสารขัดผิวที่อ่อนโยน (abrasive) จึงมีบริษัทต่างๆ ทำการผลิตเคโอลินทั้งรูปแบบเดี่ยวและที่ผสมกับสารอื่นเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้า ได้แก่ SMACLAY Kao ของบริษัท SMA Collaboratives สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเคโอลินเดี่ยว และ Distinctive®AQ-Kaolin ของบริษัท Vantage Specialty Ingredients สหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยเคโอลินและ polyethylene glycol-9 dimethicone เคโอลินถูกนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลากหลายประเภท ได้แก่ เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าและผิวกาย รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขอนามัย เช่น ยาสีฟัน และสบู่ อย่างไรก็ตามการสูดดมเคโอลินในระยะเวลานานอาจทำให้มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
คำสำคัญ
เคโอลิน (kaolin), เคโอลิไนต์ (kaolinite), เครื่องสำอาง
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์
ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)