0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
เรื่อง การประเมินและจัดการภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในร้านยา (Evaluation and management of geriatric nutrition in community pharmacy
ชื่อบทความ
เรื่อง การประเมินและจัดการภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในร้านยา (Evaluation and management of geriatric nutrition in community pharmacy
ผู้เขียนบทความ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนวดี ปรีเปรม
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม
1010-1-000-001-04-2564
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
30 เม.ย. 2564
วันที่หมดอายุ
29 เม.ย. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะทุพโภชนาการของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เสื่อมลงตามวัย นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคม เช่น การมีรายได้น้อย การขาดความตระหนัก ความรู้ และคำแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงด้านโภชนาการ วิถีชีวิตของครอบครัว รวมถึงการใช้ยาบางชนิด ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลงทั้งในด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปัญหาสุขภาพ บทความนี้เน้นให้เภสัชกรร้านยาตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ เพื่อให้สามารถสังเกต วางแผน ให้คำแนะนำ และติดตามการแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการของผู้สูงอายุที่มารับบริการได้อย่างเหมาะสม บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทบทวนความรู้พื้นฐานทางโภชนาการคลินิกที่เภสัชกรร้านยาควรทราบ 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ควรได้รับจากอาหารที่บริโภคต่อวันสำหรับผู้สูงอายุ 2) การคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุด้วยการซักประวัติโภชนาการ และการสังเกตความผิดปกติของร่างกาย 3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ และ 4) การให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางจัดการภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละรายให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
คำสำคัญ
Elderly, nutrition, physiology changes, social factors, dietary habits, drug-induced gastrointestina