การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาศักยภาพเภสัชกรตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๕๙เรื่อง “Changing and Empowerment for Patient Medication Safety”
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาศักยภาพเภสัชกรตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๕๙เรื่อง “Changing and Empowerment for Patient Medication Safety”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-026-09-2559
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุม อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตพญาไท กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 04 ก.ย. 2559
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย ๑.เภสัชกรโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ๑๕ คน ๒. เภสัชกรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๕ คน ๓. เภสัชกรในเครือกองทัพบกชมรมเภสัชกรสี่เหล่า โรงพยาบาล
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในการให้บริการทางสุขภาพในสถานพยาบาลต่าง ๆ ในทุกระดับ รวมทั้งโรงพยาบาลและร้านยา สิ่งที่ผู้รับบริการคาดหวังก็คือบริการที่ไว้วางใจได้ว่าสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก (access), ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม (appropriateness), มีประสิทธิผลการรักษาที่ดี (efficacy), ปลอดภัย (safety), คุ้มค่า (cost-effectiveness), ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม (equity), ดูแลด้วยหัวใจ (humanized care) รวมทั้งการใส่ใจทุกความต้องการขอบผู้รับบริการ (responsiveness) ซึ่งในความคาดหวังทั้งหมดเหล่านี้ สิ่งที่เป็นความท้าทายมากที่สุดคือ “ระบบบความปลอดภัยในการใช้ยา (patient medication safety system)”
ทั้งนี้การพัฒนาเชิงระบบอย่างเชื่อมโยงโดยบูรณาการเครื่องมือติดตามทางคลินิก (clinical tracer) ในการดักจับปัญหาในการใช้ยา เพื่อนำมาผ่านกระบวนการค้นหาสาเหตุราก (root causes) อย่างรอบคอบรอบด้าน รวมถึงการสื่อสารที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยนั้น จะนำมาสู่การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ กองเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้จัดการประชุมนี้ขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และแบ่งปันประสบการณ์ที่ดีในการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล ซึ่งเป็นบทบาทความรับผิดชอบของเภสัชกร เพื่อนำไปสู่บริการการรักษาที่ดีที่สุด ผู้ป่วยเกิดความร่วมมือในการใช้ยา ได้รับประโยชน์ในการรักษา และเกิดความปลอดภัยสูงสุดในการดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรในการพัฒนาคุณภาพระบบจัดการความปลอดภัยด้านยา (medication safety management system; MSMS) ของสถานพยาบาลต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล
คำสำคัญ
patient medication safety, patient medication counseling, healthcare accreditation, hospital accreditation (HA), product-oriented knowledge, evidence-
วิธีสมัครการประชุม
คุณกัลยา อรวิเชียร 0899183921