การประชุมวิชาการ
การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของโรงพยาบาลและการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม (โครงการ Antibiotic Stewardship Program : The important role of pharmacist in AMR Era)
ชื่อการประชุม การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของโรงพยาบาลและการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม (โครงการ Antibiotic Stewardship Program : The important role of pharmacist in AMR Era)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-091-12-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมหลวงพ่อพุธ ฐานิโย อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 9 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วันที่จัดการประชุม 02 ธ.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาและโรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 120 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การดื้อยาต้านจุลชีพ ( Antimicrobial resistance : AMR ) เป็นวิกฤติการณ์ร่วมกันของทุกประเทศ ทั่วโลก ในขณะที่เชื้อดื้อยาเพิ่มชื้น แต่ยาต้านจุลชีพชนิดใหม่พัฒนาไม่ทันกับการดื้อยาต้านจุลชีพ สำหรับประเทศไทยพบว่า มีคณะกรรมการประสานและบูรณาการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) ซี่งฺเป็นยุทธศาสตร์ ฉบับแรกของประเทศไทยที่เน้นการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม
ปี 2459 กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) เพื่อให้ มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU) และเป็นการคุ้มครองให้ประชาชนได้รับการรักษา ด้วยยาอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย ลดความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจและลดปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ กำหนด เป็นมาตรการให้โรงพยาบาลระดับ A S และ M1 มีการจัดการ การดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ ซึ่งพบว่าการดำเนินการระบบการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ( Antibiotic Stewardship Program : ASP ) เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติการณ์เชื้อดื้อยา ลดปริมาณการ ใช้ยาด้านจุลชีพและเพิ่มอัตราการตอบสนองต่อการรักษา
เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาระบบการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาด้านจุลชีพประสบผลสำเร็จ กฺลุ่มงานเภสัชกรรม ร่วมกับคณะกรรมการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา จึงมีความประสงค์จะจัดการ ฝึกอบรม การจัดการการดื้อยาด้านจุลชีพของโรงพยาบาลและการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพ อย่างเหมาะสมชื้น เพื่อให้แพทย์และเภสัชกรผู้ปฎบัติงานมีความรู้และความเข้าใจในการที่จะสนับสนุนและ ส่งเสริมให้งานเป็นไปตามเปัาหมายต่อไป
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปดำเนินการพัฒนาการจัดการการดื้อยา ต้านจุลชีพของโรงพยาบาลและการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
การดื้อยาต้านจุลชีพ, Antimicrobial resistance : AMR