การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง “Hematology for Pharmacy Educational Program (HOPE)”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง “Hematology for Pharmacy Educational Program (HOPE)”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-087-12-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 01 ธ.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคทางโลหิตวิทยา อาทิเช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (CML) โรคเอ็มพีเอ็น (MPN) โรคไอทีพี (ITP) และโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคทางโลหิตวิทยามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูกหรือการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ และวิวัฒนาการของยาที่ใช้รักษา จากปัจจัยดังกล่าวทำให้แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก บุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและข้อพึงระวังในการรักษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เภสัชกรซึ่งเป็น บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชียวชาญเกี่ยวกับการใช้ยา จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการรักษาสูงที่สุด และเป็นการสร้างแนวทางในการพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยทางโลหิตวิทยา ให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของสหสาขาวิชาชีพมากยิ่งขึ้น ด้วยความตระหนักในความสำคัญของปัญหาดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยความร่วมมือกับชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (ประเทศไทย) หรือ Asia Pacific Oncology Pharmacy Society (Thailand): APOPS จึงจัดให้มีการประชุมวิชาการเรื่อง Hematology for Pharmacy Educational Program (HOPE) เพื่อสนับสนุนให้เภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุขที่สนใจ มีความพร้อมที่จะดำเนินงานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้มีโอกาสทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรคทางโลหิตวิทยา แนวทางการรักษา ประสิทธิภาพของการใช้ยา ตลอดจนอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น โดยเน้นเกี่ยวกับข้อมูลตามมาตรฐานแนวทางการรักษาสากล (standard practice guideline) และหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence based medicine) เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้ทราบแนวทางการรักษา การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย ตลอดจนการเฝ้าระวัง และตรวจสอบและจัดการอาการแทรกซ้อน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการรักษา
คำสำคัญ
โลหิตวิทยา, Hematology