ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนครั้งที่ 1
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนครั้งที่ 1
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-2-000-001-01-2568
สถานที่จัดการประชุม Online Seminar
วันที่จัดการประชุม 25 ม.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์ บุคลากร ของคณะเภสัชศาสตร์ สถาบันต่างๆ เภสัชกรและผู้สนใจทั่วไป รวม 300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยปัจจุบันแนวทางการรักษาและการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการดูแลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน และปัญหามลภาวะ PM2.5 ที่เป็นปัญหาสุขภาพมานานหลายปี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านต่าง ๆ ของทางเดินหายใจตามมา เช่น โรคหืดและ ภูมิแพ้ รวมถึงปัจจุบันพบปัญหาการใช้ NSAIDs และสมุนไพรในผู้ป่วย CKD เป็นอย่างมาก ทำให้วิทยาลัยเภสัชศาสตร์เล็งเห็นความสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้และเพิ่มความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้แก่เภสัชกรชุมชน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีร้านยาหลายแห่งที่เป็นแหล่งฝึกงานให้กับนักศึกษาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้งานประชุมวิชาการนี้ แจ้งรายละเอียดโครงการร่วมพัฒนาแหล่งฝึกร้านยา เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือทางวิชาการอันดีระหว่างกัน
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเห็นสมควรจัดการประชุมวิชาการ หัวข้อ “ประชุมวิชาการ ด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนครั้งที่ 1” ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับประชาชนและผู้ป่วย ตลอดจนสามารถทราบรายละเอียดโครงการร่วมพัฒนาแหล่ง ฝึกร้านยา
วัตถุประสงค์
1. เพิ่มพูนความรู้การบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนเรื่อง Upper respiratory infection, PM 2.5
และการใช้ NSAIDs สมุนไพรในผู้ป่วย CKD
2. เป็นหนึ่งในกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Pharmaceutical Education, CPE) เพื่อการพัฒนาตนเองของเภสัชกร ที่สนใจเข้าร่วมประชุม
3. เพื่อแจ้งรายละเอียดโครงการร่วมพัฒนาแหล่งฝึกร้านยา
คำสำคัญ
การประชุมวิชาการเภสัชศาสตร์ด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชน, ปัญหาการใช้้ NSAIDs และสมุนไพรในผู้ป่วย CKD, PM2.5