0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการ การพัฒนาผลงานวิชาการจากงานประจำเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ
ชื่อการประชุม
โครงการ การพัฒนาผลงานวิชาการจากงานประจำเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม
1006-2-000-009-01-2568
สถานที่จัดการประชุม
ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และออนไลน์
วันที่จัดการประชุม
22 -24 ม.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย
เภสัชกรและบุคคลากรสาธารณสุข จำนวน 100 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
18 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เป็นที่ทราบและยอมรับกันดีว่าการสร้างผลงานวิชาการ เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ องค์กร และตัวบุคลากร ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้กระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรได้สร้างและนำเสนอผลงานวิชาการอย่างสม่ำเสมอ ในด้านความก้าวหน้าของตัวบุคลากรสาธารณสุขแต่ละราย มีการกำหนดให้บุคลากรสามารถขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการในระดับ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ โดยผู้ขอรับการประเมินต้องมีการทำและเขียนผลงานวิชาการในลักษณะงานวิจัย ที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพของตนเพื่อประกอบการพิจารณา แม้ว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างๆ จะได้ผ่านการเรียนและฝึกทักษะระเบียบวิธีวิจัยมาบ้าง แต่บุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งจะมีความรู้และประสบการณ์การวิจัยไม่มากพอ ทำให้ขาดความมั่นใจ และไม่พร้อมสำหรับการพัฒนาผลงานวิชาการด้วยตนเอง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเห็นควรจัดโครงการ “การพัฒนาผลงานวิชาการจากงานประจำเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญและชำนาญการพิเศษ” โดยได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 ในปีงบประมาณ 2563 และดำเนินการจัดต่อเนื่องเป็นประจำ สำหรับในปี พ.ศ.2568 เป็นการจัดอบรมรุ่นที่ 6 นี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ทราบหลักเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่ง ตัวอย่างและแนวคิดการพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ หลักการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดหัวข้อศึกษา รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัยต่างๆ การสืบค้นเพื่อการทบทวนวรรณกรรม หลักและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสำหรับการวิจัยที่ใช้บ่อย การเขียนโครงร่างและการขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หลักการเขียนรายงานและการนำเสนอผลงาน ตลอดจนแนวทางการใช้ Generative AI เป็นผู้ช่วยในการวิจัย
วัตถุประสงค์
1.เรียนรู้หลักการวิจัยและกระบวนการวิจัย
2.สามารถสร้างโจทย์วิจัยจากงานประจำ
3.สามารถสร้างแนวคิดในการพัฒนางานวิจัยจากงานประจำที่สามารถใช้ประกอบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
คำสำคัญ