ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

บทความวิชาการ
การจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในร้านยา และระบบส่งต่อไปยังสถานพยาบาลหลัก พื้นที่จังหวัดอ่างทอง กรณีศึกษา ภาวะ Ergotism
ชื่อบทความ การจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในร้านยา และระบบส่งต่อไปยังสถานพยาบาลหลัก พื้นที่จังหวัดอ่างทอง กรณีศึกษา ภาวะ Ergotism
ผู้เขียนบทความ ภญ.ศิวพร ปีเจริญทรัพย์
สถาบันหลัก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รหัสกิจกรรม 5002-1-000-007-07-2560
ผู้ผลิตบทความ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ก.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 26 ก.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่เภสัชกรชุมชนพบได้บ่อย ดังนั้น เกณฑ์การวินิจฉัย และแก้ปัญหาอาการปวดศีรษะแก่ผู้ป่วยจึงมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ อาการปวดศีรษะไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ยังมีอาการปวดศีรษะที่เกิดจากเหตุใช้ยาเกิน (Medication Overuse Headache) ซึ่งเภสัชกรชุมชนที่ปฏิบัติงานอยู่ในร้านยา มีบทบาทสำคัญที่จะวิเคราะห์แยกอาการและหาสาเหตุทีแท้จริงของอาการปวดศีรษะ เพื่อให้การดูแลที่ถูกต้อง ลดการใช้ยาเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การใช้ยาแก้ปวดเกินความจำเป็นอย่างยาวนาน นอกจากจะทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงแล้ว อาจจะเกิดผลข้างเคียงจาการใช้ยา อาการ Ergotism ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้ยา Ergotamineในขนาดที่สูงกว่าที่แนะนำ หรือเป็นระยะเวลานาน โดยมีอาการคือ อาการชาปลายมือ ปลายเท้า มือเท้าเย็น คลำชีพจรไม่เจอ ซึ่งเป็นผลจากยา Ergotamine ที่มีฤทธิ์ในการหดหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งเภสัชกรชุมชนมีบทบาทสำคัญในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาดังกล่าว และส่งต่อไปยังแพทย์ในสถานพยาบาลหลักของผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาซ้ำ
คำสำคัญ
ภาวะปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน ,อาการชาจากการใช้ยา,Ergotamine