ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการทิศทางการพัฒนาร้านยาในอนาคต จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ.2567
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทิศทางการพัฒนาร้านยาในอนาคต จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ.2567
สถาบันหลัก มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
รหัสกิจกรรม 5004-2-000-007-12-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ ศูนย์ประชุมโรงแรมไฮเพลส
วันที่จัดการประชุม 08 ธ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรร้านยาและผู้สนใจ จำนวน 200 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ทิศทางการพัฒนาร้านยาในอนาคต มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรง ตั้งแต่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ เช่นการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ซึ่งทำให้ร้านยาสามารถให้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น รวมถึงการใช้ระบบอัตโนมัติในการจัดการสต็อกยาและการตรวจสอบข้อมูลในฐานข้อมูล และเทรนในการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร ร้านยาอาจจะขยายบริการเพื่อรองรับการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร เช่นการให้คำแนะนำด้านการบริโภค ตรวจสอบและยืนยันแหล่งที่มาของยาได้อย่างโปร่งใส รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาและสุขภาพ และรวมถึงการพึ่งพาบริการออนไลน์และการส่งสินค้า ร้านยาจะเริ่มให้ความสำคัญกับบริการออนไลน์มากขึ้น ทั้งการขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ การส่งสินค้าถึงบ้านจะเป็นการตอบสนองต่อความสะดวกสบายของลูกค้า และที่สำคัญในอนาคตต้องมีการพัฒนาทักษะของเภสัชกรในการให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ โดยเฉพาะด้านการใช้ยาและการป้องกันโรค การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะด้านการให้คำแนะนำที่ถูกต้องจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความแตกต่างให้กับร้านยา
ฉะนั้นการนำเทคโลยีเข้ามาใช้บริการในร้านยาที่สำคัญคือ การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) คือ การบริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care) และการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องแก่ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ โดยเภสัชกรสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการไม่ได้เผชิญหน้ากันเหมือนการรับบริการทางเภสัชกรรมในรูปแบบปกติ การให้บริการด้วยรูปแบบ Telepharmacy นี้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วย หรือผู้รับบริการได้รับบริการจากเภสัชกรเสมือนรูปแบบปกติ หรืออาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่ารูปแบบปกติ อย่างไรก็ตามการนำ Telepharmacy มาใช้ยังเป็นรูปแบบใหม่สำหรับเภสัชกรร้านยา ดังนั้นหากเภสัชกรเข้าใจ รู้จักกิจกรรม รู้จักการวัดผลลัพธ์ของกิจกรรม รวมถึงสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับงานของตนเองได้ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาทางคลีนิกที่ดี หรือได้รับการบริการทางเภสัชกรรมที่พึงพอใจได้
ทิศทางร้านยาในอนาคตคือการผสมผสานระหว่างการตลาดแบบออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์ (O2O) ซี่งเป็นการนำคุณสมบัติเด่นทางการตลาดทั้ง 2 รูปแบบมาคอยเติมซึ่งกันและกัน และเป็นโมเดลที่ได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกและยังสามารถทำได้ในธุรกิจทุกไซส์ด้วย
ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ชมรมร้านยาจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านของร้านยาในอนาคต จึงได้จัดการประชุมบรรยายเชิงวิชาการดังกล่าวขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของเภสัชกร ให้เป็น ผู้มีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพิ่มมาตรฐานในการบริการเภสัชกรรมในร้านยา ตลอดจนการให้บริการเลิกบุหรี่ในร้านยาและในระบบทางไกล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเสนอมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลร้านยา จังหวัดร้อยเอ็ด
2. เพื่อพัฒนาเภสัชกรและบุคลากรในสายงานเภสัชกรรมให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน เภสัชกรรมทางไกล สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์กับการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาลบาลได้
3. เพื่อนำเสนอหลักการตลาดแบบออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์(O2O)
คำสำคัญ
ทิศทางการพัฒนาร้านยา , จังหวัดร้อยเอ็ด , เภสัชกรร้านยา , บริการเภสัชกรรมทางไกล
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ชมรมร้านยาจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสอบถามรายละเอียดในการลงทะเบียน