ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรในเขตสุขภาพที่ 4 เพื่อการจัดการดื้อยาต้านจุลชีพ
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรในเขตสุขภาพที่ 4 เพื่อการจัดการดื้อยาต้านจุลชีพ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-036-09-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
วันที่จัดการประชุม 02 -04 ก.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 13.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยส่งผลเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย และเพิ่มค่าใช้จ่ายในระบบบริการสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิด เช่น multidrug-resistant organisms (MDROs), extensively drug-resistant organisms(XDRs) และ pan drug-resistant organisms (PDRs) ในประเทศไทย พบปัญหาเชื้อดื้อยาหลายชนิดโดยเฉพาะเชื้อแกรมลบดื้อยา เช่น Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter baumannii และเชื้อกลุ่ม Enterobacterales ส่งผลให้การใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษามีข้อจำกัดมากขึ้น
การรับมือกับเชื้อดื้อยาจึงเป็นไปในลักษณะของการลดอุบัติการณ์ของเชื้อดื้อยาลง เพื่อให้สามารถใช้ยาต้านจุลชีพเดิมได้ โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างการลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพอัตราการบริโภคยาในหน่วย defined daily dose (DDD) ต่อ 1,000 วันนอน กับอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพแบบ MDRs ที่ลดลง ซึ่งการลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ นอกจากการลดปริมาณการใช้ยาแล้ว การมีระบบติดตามการใช้ยาสมเหตุผล (antibiotic stewardship programs; ASP สามารถลดอัตราการดื้อยา ลดปริมาณการใช้ยา และมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายด้านยา รวมทั้งลดปัญหาการติดเชื้อดื้อยา โดยมีแผนพัฒนาโรงพยาบาลขนาดใหญ่และเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีการป่วยจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพลดลง ร้อยละ 10 และมีปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลดลง ร้อยละ 30 (เทียบกับปี พ.ศ. 2560)
ประกอบกับมหาวิทยาลัยศิลปากร มีการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDG) ดำเนินการโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตามเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) ในเป้าหมายย่อย 3.d คือ เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งมีตัวชี้วัด 3.d.2 คือ ร้อยละของการติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อดื้อยาที่เลือกพิจารณา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงขยายองค์ความรู้ด้านการจัดการเชื้อจุลชีพดื้อยาผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพัฒนาศักยภาพเภสัชกรในเขตสุขภาพที่ 4 เป็นผู้นำเพื่อการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรในเขตสุขภาพที่ 4 เพื่อการจัดการดื้อยาต้านจุลชีพ (Strengthen Pharmacist’s Skills in Health Region 4 for Antimicrobial Resistant (AMR) Management) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเภสัชกรในฐานะผู้นำ (leadership) และผู้ขับเคลื่อนการใช้ยาให้สมเหตุผล ในการดำเนินการด้าน antimicrobial stewardship program ทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยและความยั่งยืนของชุมชน ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาล ในการดำเนินการด้าน antimicrobial stewardship program และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล
2. เพื่อให้เภสัชกรที่ผ่านการอบรมสามารถทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้าน antimicrobial stewardship program ได้
3. เพื่อส่งเสริมให้อัตราการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลลดลง ส่งผลลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
คำสำคัญ