ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
(Online)Empowering Pharmacist led Intervention in Real Practice
ชื่อการประชุม (Online)Empowering Pharmacist led Intervention in Real Practice
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-046-09-2567
สถานที่จัดการประชุม ถ่ายทอดสด
วันที่จัดการประชุม 01 ก.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิก เภสัชกรและบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชน ทั้งในบริบทของสถานพยาบาลและร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย สามารถให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชน หนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่พบได้บ่อยขึ้น ได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะ peripheral neuropathy ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่สามารถรักษาและป้องกันได้ โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจสาเหตุของการเกิดภาวะ peripheral neuropathy และการใช้วิตามินบี เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว อีกหนึ่งกลุ่มโรคที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ได้แก่ โรคไข้หวัด อาการไข้และคัดจมูก ที่ต้องได้รับการการรักษา และบรรเทาอาการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เภสัชกรจึงความจำเป็นต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรค และแนวทางการรักษา รวมถึงการรู้จักผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคดังกล่าว สามารถให้คำแนะนำในการใช้ยา และการดูแลสุขภาพองค์รวมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีการอบรมวิชาการ ในหัวข้อ Empowering Pharmacist led Intervention in Real Practice ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ (1) โรคเบาหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ peripheral neuropathy (2) แนวทางการรักษาและป้องกันการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบ จากโรคเบาหวาน (3) บทบาทของวิตามินบี ต่อการรักษาอาการปลายประสาทอักเสบ (4) การดูแลรักษาโรคหวัดในระยะเริ่มต้น จนถึงระยะรุนแรง (5) การเลือกใช้ยารักษาตามอาการ ของกลุ่มอาการไข้หวด (6) การดูแลรักษาอาการคัดจมูก และบทบาทของผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ (7) บทบาทของเภสัชกรในการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ และโรคไข้หวัด
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจโรคเบาหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ peripheral neuropathy
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรักษาและป้องกันการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบ และบทบาทของ วิตามินบี
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคหวัดในระยะเริ่มต้น จนถึงระยะรุนแรง และการเลือกใช้ยารักษาตามอาการ
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถประยุกต์ใช้คความรู้ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และให้คำแนะนำในการดูแลรักษาอาการคัดจมูก
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th