การประชุมวิชาการ
แนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบสู่ Good Laboratory Practice (GLP)
ชื่อการประชุม แนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบสู่ Good Laboratory Practice (GLP)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-029-05-2559
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่จัดการประชุม 18 -19 พ.ค. 2559
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ ของคณะเภสัชศาสตร์จำนวน 40 คน /อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานอื่นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 40 คน/อาจารย์ นักวิทยาศาสต
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
Good Laboratory Practice (GLP) คือ ระบบคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขององค์กร (Organizational process) และสภาวะในการศึกษาด้านสุขภาพและความปลอดภัยในระยะก่อนคลินิก (Pre-clinic) โดยต้องมีการวางแผนการศึกษาที่ชัดเจน มีการดำเนินการที่ได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ และมีการบันทึกตลอดจนรายงานได้อย่างมีระบบและเชื่อถือได้ GLP เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการ โดยใช้หลักเกณฑ์ของ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ซึ่งเป็นองค์กรประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิก 29 ประเทศที่รวมตัวกันเพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคม GLP เป็นระบบที่มีผู้นิยมใช้กันมากในห้องปฏิบัติการที่เน้นงานวิจัยทาง Pre-clinic เช่น การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา หรือทดสอบความเป็นพิษ (Toxicity study) แนวทางปฏิบัติ OECD-GLP นี้เป็นข้อกำหนดทั่วไปของห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานทดสอบ หรือดำเนินโครงการวิจัย/พัฒนา ซึ่งไม่ได้ทดลองในคน (Non-clinical research and development) ดังนั้นจึงทำให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลผลการทดสอบที่ได้มีคุณภาพสูงและเชื่อถือได้ และสามารถยอมรับได้ทั่วไป (Mutual Acceptance of Data-MAD) จึงต้องมีการนำหลักเกณฑ์ OECD-GLP มาใช้ในห้องปฏิบัติการที่มีงานวิจัยพัฒนาด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ก่อนนำมาทดสอบในคน (Pre-clinical safety study) และงานวิจัยพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งงานวิจัยในหน่วยงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทย
GLP ได้ถูกนำเสนอให้นำมาใช้เป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1976 โดยจุดประสงค์จะให้ข้อมูลจากการทดลองที่สามารถให้ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยแก่สาธารณชน ข้อกำหนด (Requirement) ของ OECD – GLP OECD – GLP มีข้อกำหนดคล้ายกับมาตรฐานคุณภาพอื่นๆ เช่น ISO/IEC Guide 25 คือ จะมีข้อกำหนดที่สำคัญ สรุปเป็นกลุ่มได้ 5 ส่วน คือ
1. Resources จะกำหนดมาตรฐานของบุคลากร สถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
2. Characterization จะกำหนดมาตรฐานของสารที่จะใช้ทดสอบและระบบที่จะทดสอบ เช่น สารเคมี, สารละลาย และน้ำยาทดสอบต่างๆ ควรจะมีฉลากบอกความเข้มข้น วันหมดอายุ หรือที่มาให้ชัดเจน เป็นต้น
3. Rules จะเป็นข้อกำหนดต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัยและทดลอง (Protocol)
4. ระบบเอกสาร (Documentation) เช่น ข้อมูลดิบ การเก็บข้อมูล การรายงาน เป็นต้น
5. ระบบคุณภาพ (Quality Assurance)
GLP มีวัตถุประสงค์จะนำมาใช้เป็นแนวทางมาตรฐานในการปฏิบัติเพื่อให้การทำการทดลองทางห้องปฏิบัติการเป็นไปได้ โดยถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และได้มาตรฐาน ดังนั้นการปฏิบัติตาม GLC จึงเป็นการปรับมาตรฐานของการทำการทดลองให้เข้าสู่ระดับสากล เพื่อให้ข้อมูลเป็นที่ยอมรับ มีความน่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค นอกจากนี้การที่ห้องปฏิบัติได้มาตรฐานก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพของการทำการวิจัยครบวงจรในการพัฒนายา และยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำการศึกษาวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย การยกระดับมาตรฐานของห้องปฏิบัติการนั้น จัดว่าเป็นการประกันคุณภาพของผลงานวิจัยที่ได้ในระดับหนึ่ง และในการพัฒนาระบบนี้จะเป็นการพัฒนาบุคลากรไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันภาควิชาเภสัชเคมีได้ร่วมดำเนินการในการตรวจสอบคุณภาพยา สารประกอบทางยา ผลิตภัณฑ์ให้กับผู้มาขอรับบริการอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่ผู้มาขอรับบริการให้ความเชื่อถือ และต้องการเอกสารรับรองเพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การรับรองผลการทดสอบให้กับผู้มาขอรับบริการในฐานะผู้บริการตรวจสอบต้องมีความมั่นใจในผลการทดสอบก่อนส่งผลการทดสอบให้กับผู้มาขอรับบริการ จึงจะต้องพัฒนาและปรับปรุงห้องปฏิบัติการและระบบการปฏิบัติงานให้เข้าสู่ระบบคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการให้เข้าสู่ระดับ Good Laboratory Practice จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของการพัฒนาห้องปฏิบัติการในระดับ GLP นั้น นอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีหน่วยงานที่ให้บริการตรวจสอบ ทดสอบอยู่หลายหน่วยงาน และยังไม่มีหน่วยงานใดได้รับการรับรอง GLP การได้รับการให้ความรู้จากผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์จะทำให้การดำเนินงานด้านการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการรับรองคุณภาพจะทำได้ง่ายขึ้น ในการนี้ภาควิชาเภสัชเคมี และศูนย์ปฏิบัติการบริการทางเภสัชศาสตร์ จึงมีความประสงค์จะจัดอบรมเรื่อง แนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบสู่ Good Laboratory Practice (GLP) ขึ้น
วัตถุประสงค์
• เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Good Laboratory Practice
• เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบข้อกำหนดต่างๆ ในการขอการรับรอง Good Laboratory Practice
• เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบแนวทางในการขอการรับรอง Good Laboratory Practice จากหน่วยงาน ที่ให้การรับรอง
• เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเอกสาร ในการขอการรับรอง Good Laboratory Practice
คำสำคัญ
ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ/ห้องปฏิบัติการทดสอบ/เอกสารคุณภาพ
วิธีสมัครการประชุม
-