ประชุมวิชาการ The 5th Chiang Mai Conference on Pediatric Infectious Diseases (The 5th CMC-PID) หัวข้อ “Update trends in pediatric infectious diseases: Maximizing quality of patient care”
ชื่อการประชุม |
|
ประชุมวิชาการ The 5th Chiang Mai Conference on Pediatric Infectious Diseases (The 5th CMC-PID) หัวข้อ “Update trends in pediatric infectious diseases: Maximizing quality of patient care” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รหัสกิจกรรม |
|
1003-2-000-023-09-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
วันที่จัดการประชุม |
|
28 -29 ก.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
|
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
แพทย์รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 150 – 200 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
7.25 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่โรคโควิด-19 ถือเป็นโรคระบาดประจำถิ่น บุคลากรทางการแพทย์อาจต้องพบกับปัญหาและความท้าทายในการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากโรคโควิด-19 ได้แก่ ภาวะอักเสบของอวัยวะหลายระบบ ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เป็นต้น อีกทั้งต้องเตรียมพร้อมในการรับมือโรคระบาดใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต และโรคติดเชื้อต่าง ๆ ที่กลับมาระบาดซ้ำ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสเดงกี โรคติดชื้อไวรัสซิกา โรคชิคุนกุนยา โรคมาลาเรีย วัณโรค โรคติดเชื้อในทารกแรกเกิด โรคติดเชื้อจากเชื้อดื้อต่อยาต้านจุลชีพ และโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนอื่น ๆ ดังนั้น แพทย์รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ต่าง ๆ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ ควรต้องมีการติดตามข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์ของโรค และสามารถนำข้อมูลความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในเวชปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อที่ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยละกลับมาระบาดซ้ำในยุคหลังการระบาดของโรคโควิด-19
2. เพื่อให้ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับการวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วย การป้องกันโรคด้วยวัคซีน และการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็ก
คำสำคัญ
โรคโควิด-19, การรับมือโรคระบาดใหม่, โรคติดต่อ