ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการ ครบรอบ 43 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ "Beauty Healthy Happy in Perfect Harmony สวย สุขภาพดี มีความสุข อย่างลงตัว"
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการ ครบรอบ 43 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ "Beauty Healthy Happy in Perfect Harmony สวย สุขภาพดี มีความสุข อย่างลงตัว"
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-022-09-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลนครพิงค์
วันที่จัดการประชุม 19 -20 ก.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรโรงพยาบาลนครพิงค์ จำนวน 500 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรงพยาบาลนครพิงค์ มีวิสัยทัศน์ (Vision) “ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ระดับนานาชาติ” ซึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนางานสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว บุคลากรจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะร่วมแรงร่วมใจกับเพื่อทำให้บรรลุเป้ามาย ดังนั้น โรงพยาบาลนครพิงค์จึงเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งความสุขนั้นเกิดจากความสมดุลระหว่างความงามภายนอกและการมีสุขภาพที่ดี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบทั้งทางกายและจิตใจไปพร้อมกันอย่างมีคุณภาพ พร้อมที่จะสร้างพลังขับเคื่อนการบริการสุขภาพและพัฒนาคุณภาพของงานประจำอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบมีส่วนร่วมและต่อเนื่อง จึงต้องมีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างสรรค์งานวิจัย งานคุณภาพ ระบบการบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วย หน่วยงานภายในโรงพยาบาล โดยผ่านเวทีการจัดโครงการมหกรรมคุณภาพขึ้น เพื่อเป็นเวทีกลางสำหรับเปิดกว้างให้ผู้ที่รักการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์มาขับเคลื่อนร่วมกัน เป็นเครือข่ายการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาศการแลกเปลี่ยนมุมมอง นวัตกรรม และวิธีการ เพื่อที่จะนำไปสู่งสิ่งที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน....
วัตถุประสงค์
1. เพื่อกระตุ้นกระบวนการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาล
2. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานคุณภาพ งานวิจัย และนวัตกรรมต่าง ๆ ของโรงพยาบาลนครพิงค์
3. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประบุกต์ในการพัฒนาคุณภาพงานประจำให้ดียิ่งขึ้น
4. เพื่อให้โรงพยาบาลเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างสรรค์งานวิจัย งานคุณภาพ ระบบการบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วย