ชื่อการประชุม |
 |
How Pharma packaging materials impact your product quality |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2004-2-000-022-11-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ |
วันที่จัดการประชุม |
 |
16 -17 พ.ย. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานดังนี้ ผู้บริหาร จัดซื้อ ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรมผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ/GMPและผู้สนใจทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
10.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การผลิตยาให้ได้คุณภาพ มีองค์ประกอบหลายอย่าง หนึ่งในนั้นที่มีความสำคัญต่อคุณภาพยาได้แก่ วัสดุการบรรจุโดยเฉพาะวัสดุการบรรจุปฐมภูมิ (primary packaging materials) และวัสดุการบรรจุที่พิมพ์ข้อความแล้ว (printed packaging materials) ตามข้อกำหนด GMP ต้องจัดซื้อวัสดุการบรรจุจากผู้ส่งมอบที่ผ่านการรับรอง (approved supplier list) อยู่ในข้อกำหนดของวัสดุการบรรจุนั้น (relevant specifications) การกำหนด specification ของวัสดุการการบรรจุต้องพิจารณาตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ คัดเลือก ประเภท ชนิดของวัสดุการบรรจุ ที่เหมาะสมและเข้ากันได้กับส่วนประกอบของยา (suitability and compatibility) เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ยาและความคงสภาพของยา การตรวจสอบ ทดสอบ วัสดุการบรรจุ (performance test) เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อรับรองว่าวัสดุการบรรจุ มีคุณลักษะตรงตามข้อกำหนด ในกรณีเปลี่ยนวัสดุการบรรจุหลังจากที่ผ่านการรับรองผู้ขายแล้ว ต้องประเมินความเสี่ยงตามระบบคุณภาพเพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุการบรรจุที่ขอเปลี่ยนนั้นมีคุณภาพเหมาะสมและเข้ากันได้กับยาที่ผลิต นอกจากนั้นได้มีกฎระเบียบบางประเทศที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลสถานะของผลิตภัณฑ์ยา (track and trace system) ตั้งแต่กระบวนการผลิตตลอดจนถึงผู้ใช้ยา เพื่อให้สามารถสอบกลับได้ทุกขั้นตอน ตลอดทั้งห่วงโซ่การการกระจายยา รวมทั้งตรวจสอบป้องกันยาปลอม (counterfeit drug)
วัตถุประสงค์
• เพื่อเรียนรู้ประเภทและชนิดของวัสดุการบรรจุ
• เพื่อเรียนการเลือกใช้วัสดุการบรรจุที่ถูกต้องเหมาะสมกับยาที่ผลิต
• เพื่อเรียนรู้การคัดเลือก จัดซื้อวัสดุการบรรจุ
• เพื่อเรียนรู้แผนการสุ่มตัวอย่างและการทดสอบวัสดุการบรรจุ
• เพื่อเรียนรู้การประเมินความคงสภาพของยา
• เพื่อนเรียนรู้การเปลี่ยนวัสดุการบรรจุโดยหลักการประเมินความเสี่ยงด้านคุณภาพ
• เพื่อเข้าใจและเรียนรู้ประสบการณ์ของการตรวจพบข้อบกพร่องของวัสดุการบรรจุ
• เพื่อเรียนรู้ track and trace system (serialization)
คำสำคัญ
primary packaging materials, printed packaging materials, approved supplier list,
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/
ค่าลงทะเบียน
สมาชิกสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) 4,280 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
บุคคลทั่วไป 5,350 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้จะได้ 10.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง