การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 11 “Pharmacotherapy for Geriatrics Care II: Brain age and other bodily 'ages': Implications for Pharmacological Management”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 11 “Pharmacotherapy for Geriatrics Care II: Brain age and other bodily 'ages': Implications for Pharmacological Management”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-015-08-2565
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม แกรนด์ ฟอร์จูน โฮเทล อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
วันที่จัดการประชุม 27 -28 ส.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรที่มีแนวโน้มไปสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้ประชากรในประเทศเข้าสู่ภาวะ Aged Society ในไม่ช้า ผู้สูงอายุยังมีแนวโน้มที่จะมีโรคเรื้อรังมากกว่าหนึ่งชนิด รวมทั้งปัญหาด้านสุขภาพในหลายๆระบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ระบบประสาทและสมอง ซึ่งจะเห็นได้จาก เช่น โรคภาวะสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ เป็นต้น โรคเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลและเกิดภาวะพึ่งพิงสูงขึ้น การใช้ยาในผู้สูงอายุก็ยังมีข้อจำกัดและซับซ้อนกว่าคนที่มีอายุน้อย นอกจากนี้การที่ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวหลายโรคและต้องใช้ยาหลายๆตัวในการรักษา นำไปสู่การเกิดความเสี่ยงด้านยา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ปัญหาในการรับประทานยา รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรกิริยาของยาบางชนิด การบริหารจัดการในคนไข้ที่มีภาวะตับไต ล้วนส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและการดำเนินไปของโรคในอนาคต จากความสำคัญข้างต้น การมีความรู้และความเข้าใจที่ดีในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะส่งผลดีต่อประสิทธิผลการรักษาในผู้ป่วยสูงอายุเพิ่มมากขึ้น
โดยเภสัชกรซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยา เภสัชกรจึงมีส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ลดปัญหาที่เกิดจากยา ดังนั้นความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ การติดตามและให้คำแนะนำด้านยารวมทั้งการดูแลสุขภาพอย่างทันท่วงที จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลการรักษาในผู้ป่วยสูงอายุ รวมทั้งมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวและรองรับสังคมผู้สูงอายุต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้สูงอายุแก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้สูงอายุ
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Geriatrics Care, Aging Society, Elderly Patients