การประชุมวิชาการสมาคมการค้าร้านขายยาจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ปัญหาสุขภาพยอดฮิต! ของชีวิตคนเมือง
ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการสมาคมการค้าร้านขายยาจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ปัญหาสุขภาพยอดฮิต! ของชีวิตคนเมือง |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1013-2-000-009-09-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ.โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ |
วันที่จัดการประชุม |
 |
18 ก.ย. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
สมาชิกสมาคมการค้าร้านขายยาจังหวัดเชียงใหม่ และเภสัชกรที่สนใจ จำนวนประมาณ 120 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
3 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้หลายคนใส่ใจในการดูแลตัวเองน้อยลง ทั้งการนอนหลับ การรับประทานอาหาร รวมถึงการเผชิญกับความเครียดจากการทำงานการใช้ชีวิต ในขณะเดียวกันสภาวะแวดล้อมต่างๆ เริ่มแย่ลงไปหมด ทำให้คนเมืองมีปัญหาเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยของคนเมือง ได้แก่ โรคปวดศีรษะ โรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึงอาการเจ็บคอ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญสำหรับชุมชน ประชาชนที่ประสบปัญหาเหล่านี้จึงมาใช้บริการที่ร้านขายยา ที่สามารถให้การดูแลเบื้องต้น ด้วยการจ่ายยา และ/หรือให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ป่วย มีส่วนสำคัญช่วยแบ่งเบาภาระทางสาธารณสุขของประเทศ
การจัดประชุมวิชาการของสมาคมการค้าร้านขายยาจังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือและประสานร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการพัฒนายกระดับร้านขายยาของสมาชิกให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับแก่สังคมและชุมชน โดยอาศัยการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิชาการให้กับสมาชิกร้านขายยาอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้พบปะ แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้วิชาการที่ทันสมัยในการประกอบวิชาชีพในร้านขายยาให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งร่วมกันปลูกจิตสำนึกของสมาชิกสมาคมการค้าร้านขายยาจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ ความชำนาญ การให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ ผู้ประกอบการร้านยาและเภสัชกรผู้ปฎิบัติหน้าที่ในร้านขายยา
2) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารและรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
3) เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
คำสำคัญ
Pain Medication, Reflux symptoms, Acute Pharyngitis