การประชุมวิชาการ
การพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยา (นพย.) รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 1
ชื่อการประชุม การพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยา (นพย.) รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 1
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-2-000-005-08-2565
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 30 ส.ค. 2565 - 05 ก.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
กลุ่มเป้าหมาย นักขับเคลื่อนการพัฒนาระบบยาจากปัญหาพื้นที่สู่การแก้ไขเชิงระบบ จำนวนประมาณ 23 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 21.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในการดำเนินงานของศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เพื่อเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาของ พบว่า การขับเคลื่อนงานที่ผ่านมาสามารถดำเนินการได้สำเร็จในระดับพื้นที่ และสามาถดำเนินการในกิจกรรมที่มีลักษณะประเด็นเฉพาะ ซึ่งยังขาดกลยุทธืที่จะช่วยการจัดการปัญหาในเชิงระบบในภาพรวม ส่วนหนึ่งอาจมาจากการขาดกำลังคนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนั้น การเพิ่มกำลังคนและการพัฒนาผู้นำ จึงเป็นหลักการที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มการพัฒนา “คน” เพื่อมาเป็น “ผู้นำ” ในการขับเคลื่อนการพัฒนา “งาน” ให้เกิดความเชื่อมต่อการขับเคลื่อนใน “การเฝ้าระวังและจัดการปัญหาในยาเชิงระบบ” แบบครบวงจร ต่อเนื่อง และยั่งยืนในอนาคต
การพัฒนาผู้นำที่ กพย. ได้จัดตั้งและดำเนินการผ่านกระบวนการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติงานจริงร่วมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานจริงในการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบยา ในชื่อว่า “โครงการพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยา (นพย.)”โดยโครงการได้จัดไปแล้วจำนวน 4 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 – รุ่นที่ 4 มีการอบรม ฝึกปฏิบัติและการดำเนินโครงการศึกษาเพื่อเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาในชุมชน ที่มีข้อเสนอแนะเชื่อมโยงไปสู่การจัดการปัญหาเชิงระบบในระดับนโยบาย โดยมีเภสัชกรสมัครเข้าอบรมทั้ง 4 รุ่น รวม 90 คน และสำเร็จหลักสูตรผ่านการอบรมในโครงการทั้ง 4 รุ่น รวม 86 คน โดยทั้งหมดเป็นเภสัชกรที่ทำงานในภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และแผนงานกพย.
จากการประชุมสรุปถอดบทเรียนร่วมกันระหว่าง กพย. ทีมพี่เลี้ยงและนพย.รุ่น 1-4 และ พบว่าผู้ที่ผ่านการอบรมในโครงการมีการพัฒนา ศักยภาพในการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สถานการณ์ปัญหาระบบยาเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และจากวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดการมองปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น นำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเชิงระบบ มีโอกาสนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหายาในพื้นที่ของตน มีการเชื่อมร้อยและประสานการทำงานกับเครือข่ายต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่ หลายพื้นที่มีโอกาสได้ร่วมประสานงานขับเคลื่อนกับเครือข่ายระดับบน เช่น อย. กสทช เครือข่ายภาคประชาสังคม เกิดเป็นรูปธรรมที่หลากหลายขึ้นในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่สามารถไปถึงการแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ แต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเขยื้อนปัญหาจากชุมชน สู่การพยายามที่จะแก้ไขในระดับนโยบายที่สูงขึ้น
จากความสำเร็จข้างต้น ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ได้เล็งเห็นประโยชน์ในการพัฒนาเครือข่ายผู้นำที่จะมาขับเคลื่อนการทำงานในอนาคต จึงได้ร่วมกับ มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส.) กำหนดให้มีการจัดทำโครงการ นพย. รุ่น 5 ขึ้นเพื่อพัฒนาผู้นำเครือข่ายที่มีศักยภาพ ที่สามารถประสานงานกับเครือข่ายต่างๆ ในทุกระดับมากยิ่งขึ้นในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบยา อันจะเป็นการหนุนเสริมความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังระบบยาต่อไป
วัตถุประสงค์
2.1 ได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่จำเป็นในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและการจัดการปัญหายาเชิงระบบ
2.2 ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ/หรือศึกษาดูงานการทำงานจริงของผู้นำการขับเคลื่อนและรณรงค์ด้านยาและสุขภาพเพื่อเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจในการทำงาน
2.3 ได้ฝึกปฏิบัติการจริงเพื่อเสริมสร้างทักษะในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาและเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาพื้นที่สู่การแก้ไขเชิงระบบในรูปแบบการทำงานแบบเครือข่ายในพื้นที่ รวมทั้งเชื่อมผ่าน เครือข่ายวิชาการ (Node) ระดับภาค
2.4 มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาของ กพย ร่วมกับ นพย. 1-4 (นพย.พี่เลี้ยง) เครือข่ายวิชาการแต่ละภาค และเครือข่ายอื่นๆ ในประเด็นต่างๆ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
1. ประชาสัมพันธ์ผ่านทางชมรมเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้ชักชวนและเสนอชื่อผู้สมัครเข้ารับการอบรม 2. ประสานผ่าน นพย.1 -4 ให้พิจารณาชักชวน และเสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือก 3. ประสานผ่านเครือข่าย ให้เสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือก รวมทั้งการสมัครด้วยตนเองของสมาชิกเครือข่าย