การประชุมวิชาการ
(online) การผลิตและประกันคุณภาพตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ
ชื่อการประชุม (online) การผลิตและประกันคุณภาพตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-004-03-2565
สถานที่จัดการประชุม ZOOM application
วันที่จัดการประชุม 21 พ.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
กำหนดให้ กัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 ที่สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ได้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เว้นแต่เสพเพื่อรักษาโรคตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือเป็นการเสพเพื่อศึกษาวิจัย ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ยกเว้นได้รับการอนุญาต และการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
ข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 มาตรา 26/2 ได้ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
1) ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
2) เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
3) เพื่อประโยชน์การรักษาผู้ป่วย
4) เพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนา
5) รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ทาง
การแพทย์ด้วย ซึ่งทั้ง 5 กรณีดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ
มาตรา 26/5 การออกใบอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้
โทษในประเภทที่ 5 ได้เมื่อปรากฏว่าผู้ขอเป็น
1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือเภสัชกรรม หรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย
2) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
3) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและ
จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
4) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่า
ด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) หรือ (3) ทั้งนี้ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมดังกล่าว สามารถร่วมผลิตและพัฒนาสูตรตำรับยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรได้ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) หรือ (3) ด้วย
5) ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
6) ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ติดตัว
เข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว
7) ผู้ขออนุญาตอื่นตามที่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดในกฎกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประกาศกำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อการรักษาหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562 ข้อ 2 ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ในตำราการแพทย์แผนไทย โดยคำแนะนำของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและสภาการแพทย์แผนไทย ตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศฉบับนี้ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 5 สามารถผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพื่อการรักษาหรือการศึกษาวิจัยได้
การผลิตและประกันคุณภาพตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562 จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ การเตรียมเครื่องยาไทยที่เป็นส่วนประกอบของตำรับก่อนใช้ปรุงยา และ การประกันคุณภาพตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่
วัตถุประสงค์
1. ผู้เข้าร่วมอบรม ทราบถึงที่มาของตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562
2. ผู้เข้าร่วมอบรม ทราบถึงกระบวนการเตรียมเครื่องยาไทย (ประสะ สะตุ ฆ่าฤทธิ์) ก่อนใช้ผลิตตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562 ด้วยกรรมวิธีทางเภสัชกรรมไทย
3. ผู้เข้าร่วมอบรม ทราบถึงกระบวนการผลิตตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562
4. ผู้เข้าร่วมอบรม ทราบถึงกระบวนการประกันคุณภาพตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562
คำสำคัญ
กัญชา, ตำรับยาแผนไทย
วิธีสมัครการประชุม
วิทยากร ภก.ศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร อำเภอ พรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร เภสัชกรที่เข้าเข้ารับการอบรมและผ่านการทดสอบจะได้ 2.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง สมัครออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/