การประชุมวิชาการ
“Expansion of Remdesivir Manufacturing Capacity to Meet Global Demand”
ชื่อการประชุม “Expansion of Remdesivir Manufacturing Capacity to Meet Global Demand”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-007-08-2564
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยวิทยากรจะบรรยายมาจากประเทศแคนาดา ผ่านระบบ Zoom
วันที่จัดการประชุม 19 ส.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย Remdesivir, ต้านโควิด-19 , การพัฒนายา, การสังเคราะห์ยาม กลไกการออกฤทธิ์, การผลิตระดับอุตสากรรม
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่เกิดโรคระบาดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19 (COVID-19)” ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ขณะยาที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโควิด-19 ที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน Favipiravir เป็นต้น การรักษาโควิด-19 เป็นแบบประคับประคองอาการตามวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงซึ่งวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานที่ใช้อยู่ไม่เพียงพอที่จะช่วยชีวิต และเพื่อมนุษยธรรมอาจมีความจำเป็นต้องนำยาที่คาดว่ามีศักยภาพในการรักษาโควิด-19 แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติทะเบียนยาในข้อบ่งใช้นี้มาใช้ก่อนเพื่อเป็นการช่วยชีวิต (compassionate use) ยาที่นำมาใช้มีทั้ง favipiravir, remdesivir, ยาต้านไวรัสชนิดอื่นอีกหลายชนิด, chloroquine phosphate เป็นต้น โดยอาจใช้ยาแต่ละชนิดโดยลำพังหรือใช้ยาร่วมกัน ขณะนี้มียาบางอย่างที่กล่าวข้างต้นอยู่ระหว่างการศึกษาทางคลินิกเพื่อนำมาใช้รักษาโควิด-19 เช่น favipiravir, remdesivir ยาทั้งสองชนิดนี้จึงเป็นความหวังในการรักษาโควิด-19
Remdesivir (หรือ GS-5734 ซึ่งเป็นหมายเลขที่ทางบริษัทใช้ในขณะพัฒนายา) เป็น nucleotide analog อยู่ในรูป monophosphoramidate prodrug ซึ่งเป็นสารที่อยู่นอกร่างกายยังไม่มีฤทธิ์ แต่จะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสารออกฤทธิ์ GS-441524 ได้ในร่างกาย ยานี้ค้นพบโดยบริษัท Gilead Sciences ในประเทศแคนาดา เป็นต้นมามีผลการศึกษาออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการศึกษาในหลอดทดลองและการศึกษาในสัตว์ทดลองที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของยาในการรักษาโรคจากโคโรนาไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น โรคซาร์ส (SARS หรือ severe acute respiratory syndrome), โรคเมอร์ส (MERS หรือ Middle East respiratory syndrome) และโรคจากไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease หรือ Ebola haemorrhagic fever) ในตอนแรกคาดว่าผลิตยานี้ขึ้นมาเพื่อใช้รักษาโรคจากไวรัสอีโบลา ซึ่งได้มีการใช้ยานี้แล้วในช่วงที่มีการระบาดอย่างหนัก อย่างไรก็ตามผลการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคอีโบลาจำนวน 175 คน ให้ผลไม่ดีนัก ช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นี้ ได้มีการทดลองนำยามาใช้รักษาผู้ป่วยบางรายซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจ ในด้านผลไม่พึงประสงค์ของยาในช่วงที่ทำการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคอีโบลาและผลจากการทดลองใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 พบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
Remdesivir เป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสได้อย่างกว้างขวาง (broad-spectrum antiviral drug) มีประสิทธิภาพดีต่ออาร์เอนเอไวรัสหลายชนิดรวมถึงไวรัสก่อโรคอีโบลาและโคโรนาไวรัสชนิดต่าง ๆ ในกรณีของโคโรนาไวรัสนั้น ผลการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro study) ยานี้มีฤทธิ์ต้านไวรัสได้ทั้งไวรัสโรคซาร์ส (SARS-CoV), ไวรัสโรคเมอร์ส (MERS-CoV) และไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) โดยสารออกฤทธิ์ คือ GS-441524 จะขัดขวางการทำงานของ RNA polymerase เอนไซม์นี้มีความสำคัญในกระบวนการถ่ายแบบอาร์เอ็นเอ (RNA replication) ดังนั้นเมื่อเอนไซม์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จึงยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส นอกจากนี้ยายังทำให้เกิดการสร้างสารพันธุกรรมอาร์เอนเอของไวรัสที่ผิดปกติและทำให้ไวรัสตาย คาดว่ายานี้มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างอื่นอีกรวมถึงอาจออกฤทธิ์ในขั้นตอนยับยั้งไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ในร่างกายคน
วัตถุประสงค์
1.ความรู้เกี่ยวกับไวรัส COVID-19
2.การค้นพบ Remdesivir เพื่อการรักษา COVID-19
3.กลไกการออกฤทธิ์ ของ Remdesivir ในการยับยั้ง COVID-19
4.ประสิทธิผลของ ของ Remdesivir ในการยับยั้ง COVID-19
5.การขึ้นทะเบียน ของ Remdesivir ในการยับยั้ง COVID-19
6.กระบวนการสังเคราะห์ ของ Remdesivir
7.กระบวนการสังเคราะห์ ของ Remdesivir ในระดับอุตสาหกรรม
8.กระบวนการ Glycosylation ใน Mass-Production ของ Remdesivir ในการใช้เป็น starting Material
9.กระบวนการสังเคราะห์ Remdesivir’s Intermediate ใน Mass-Production ของ Remdesivir
คำสำคัญ
เภสัชกรอุตสาหการ/เภสัชกรการศึกษา/เภสัชกรโรงพยาบาล/นักศึกษา/นักวิจัย