การประชุมวิชาการ
(Online)Optimum Electrolyte composition of Peritoneal Dialysis Solution
ชื่อการประชุม (Online)Optimum Electrolyte composition of Peritoneal Dialysis Solution
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-068-08-2564
สถานที่จัดการประชุม ถ่ายทอดสด
วันที่จัดการประชุม 27 ส.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกรวมถึงประเทศไทย ผู้ป่วยกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมจะทำให้การดำเนินของโรคแย่ลง จนเกิดภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย จึงจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต โดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง เป็นวิธีหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดของของเสีย และน้ำที่เป็นส่วนเกินในร่างกาย รวมถึงช่วยรักษาสมดุลของเกลือแร่ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยประกอบด้วย 2 วิธีได้แก่ การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis, CAPD) และการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis (APD) ปัจจัยและองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญ เป็นเรื่องส่วนประกอบของน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง เช่นสารละลายผสมน้ำตาล สารควบคุมความเป็นกรดเบส และเกลือแร่ที่เหมาะสม อันประกอบไปด้วย โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ คลอไรด์ เป็นต้น ซึ่งในฐานะเภสัชกรทั้งในโรงพยาบาลและร้านยา มีโอกาสพบและดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง รวมถึงในคำแนะนำถึงความสำคัญของการรักษาสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายของผู้ป่วยด้วยตลอดจนถึงวิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการประเมินอาการ และความรุนแรงของโรค การเลือกใช้ยาที่เหมาะสม
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีการอบรมวิชาการ “Optimum Electrolyte composition of Peritoneal Dialysis Solution”
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตและการดูแลรักษาโรคไตที่เหมาะสม รวมถึงวิธีการล้างไตทางช่องท้องสำหรับดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และการแนะนำเกี่ยวกับการรักษาสมกุลของเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อรักษามาตรฐานการบริบาลเภสัชกรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต โดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจหลักการเลือกใช้ยารักษาโรคไตและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยด้านการดูแลสุขภาพเมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้อย่างถูกต้อง

คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th