การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมทรัพยากรจุลินทรีย์: การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากแอคติโนแบคทีเรีย (Microbial Resources: Preservation and Application of Actinobacteria)
ชื่อการประชุม โครงการอบรมทรัพยากรจุลินทรีย์: การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากแอคติโนแบคทีเรีย (Microbial Resources: Preservation and Application of Actinobacteria)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-013-05-2564
สถานที่จัดการประชุม Webinar
วันที่จัดการประชุม 18 พ.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สารหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาตินั้นมีบทบาทสำคัญในทางคลีนิกเพื่อเป็นยา โดยพบว่าจำนวนของสารชนิดใหม่ร้อยละ 28 และยาต้านมะเร็งร้อยละ 42 ที่มีขายอยู่ทั่วโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ถึง ปี ค.ศ. 2006 นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากแบคทีเรียในกลุ่มแอคติโนแบคทีเรียในสกุล Streptomyces ซึ่งแบคทีเรียในสกุลนี้สามารถผลิตยาปฏิชีวนะได้มากถึงร้อยละ 80.2 (ประมาณ 3500 ชนิด) ของยาปฏิชีวนะที่พบจากแอคติโนแบคทีเรียทั้งหมด ในปัจจุบันจากความต้องการยาปฏิชีวนะและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่ๆ ทำให้มีความพยายามในการค้นหาแอคติโนแบคทีเรียชนิดใหม่ เช่น แอคติโนแบคทีเรียกลุ่มหายาก (rare actinobacteria) รวมถึงแหล่งที่อยู่ใหม่ๆของแอคติโนแบคทีเรีย เช่น แอคติโนแบคทีเรียในทะเล (marine actinobacteria) และ แอคติโนแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืช (endophytic actinobacteria) เพื่อนำแอคติโนแบคทีเรียเหล่านั้นมาใช้ในการวิจัยและพัฒนายา นอกจากยาปฏิชีวนะแล้วสารเมแทบอไลต์จากแอคติโนแบคทีเรียยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น สารกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive agent) สารต้านมะเร็ง (anticancer agents) ยาปราบวัชพืช ยาฆ่าแมลง สารเร่งการเจริญของพืช ปุ๋ยอินทรีย์ และ เอนไซม์ทางการแพทย์ เป็นต้น จึงจะเห็นได้ว่าแอคติโนแบคทีเรียเป็นแบคทีเรียที่ทรงคุณค่าไม่เพียงแต่ทางด้านเภสัชกรรม แต่งสามารถประยุกต์ใช้ทางด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพด้วย ด้วยเหตุนี้โครงการอบรมนี้จึงจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางวิชาการเกี่ยวกับแอคติโนแบคทีเรียและการประยุกต์ใช้ เพื่อที่นิสิตนักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป สามารถนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแอคติโนแบคทีเรียไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. ศูนย์เก็บรวบรวมจุลินทรีย์และเทคนิคการเก็บรักษาแอคติโนแบคทีเรีย
2. การคัดแยกแอคติโนแบคทีเรียจากแหล่งธรรมชาติ
3. การพิสูจน์เอกลักษณ์จากผลการวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์ข้อมูลจีโนมของแอคติโนแบคทีเรีย
4. การใช้ประโยชน์จากแอคติโนแบคทีเรีย
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://pharmce.weebly.com/)