โครงการอบรมระยะสั้นด้านเมแทโบโลมิกส์ทางคลินิกและสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติขั้นสูง (Short Course in Advanced Clinical and Natural Product Metabolomics (CliNaP-M))
ชื่อการประชุม |
 |
โครงการอบรมระยะสั้นด้านเมแทโบโลมิกส์ทางคลินิกและสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติขั้นสูง (Short Course in Advanced Clinical and Natural Product Metabolomics (CliNaP-M)) |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
รหัสกิจกรรม |
 |
1005-2-000-046-12-2563 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ ห้องประชุม NESP326 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วันที่จัดการประชุม |
 |
21 -28 กุมภาพันธ์ 2564 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรโรงพยาบาล |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
18.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
เมแทโบโลมิกส์เป็นหนึ่งในระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 21 โดยอาศัยหลักการตรวจวิเคราะห์สารเมแทบอไลต์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจากสิ่งส่งตรวจ ได้แก่ ปัสสาวะ พลาสมา ซีรั่ม อุจจาระ และเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของวิถีเมแทบอลิซึมในโรคหรือความผิดปกติต่างๆที่มีคุณลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกัน และยังสามารถใช้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำสูง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเมแทโบโลมิกส์เพื่อรวบรวมข้อมูลและปริมาณของสารเมแทบอไลต์ ทั้งหมด หรือ เมแทโบโลม (metabolome) โดยศึกษาสารที่สังเคราะห์ภายในเซลล์ (intracellular) และสารที่หลั่งออกมาภายนอกเซลล์ (extracellular) ซึ่งผลิตได้จากวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) เพื่อให้เกิดความเข้าใจแบบองค์รวม (holistic approach) ของระบบชีวภาพที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมและการแสดงออกของพันธุกรรม ซึ่งเมื่อผนวกรวมกับข้อมูลที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยทางโอมิกส์อื่นๆ จะสามารถนำไปสู่การแพทย์เฉพาะบุคคล (personalised medicine) หรือ การแพทย์แม่นยำ (precision medicine) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ระเบียบวิธีวิจัยนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในประเทศไทยเนื่องจากเป็นต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์มาบูรณาการร่วมกัน
ดังนั้นการอบรมระยะสั้นด้านเมแทโบโลมิกส์ทางคลินิกและสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญในการเพิ่มนักวิจัยที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญในระเบียบวิธีวิจัยดังกล่าว และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงมีความร่วมมือทางการวิจัยที่มากขึ้น และก่อให้เกิดผลงานตีพิมพ์งานวิจัยทางชีววิทยาระบบและการศึกษาข้อมูลแบบแผนเมแทบอลิซึมในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์
5.1 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางชีววิทยาระบบและการศึกษาข้อมูลแบบแผนเมแทบอลิซึมให้แก่นักวิจัย
5.2 เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยที่มีความสนใจทางชีววิทยาระบบและการศึกษาข้อมูลแบบแผนเมแทบอลิซึมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและเสริมสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัย
5.3 เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ในการทำวิจัยก่อให้เกิดผลงานตีพิมพ์
คำสำคัญ
อบรมระยะสั้น, เมแทโบโลมิกส์, คลินิก, ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
วิธีสมัครการประชุม
Online