การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการ The 9th SEAPHARM Meeting 2020 (virtual meeting)
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการ The 9th SEAPHARM Meeting 2020 (virtual meeting)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-031-10-2563
สถานที่จัดการประชุม ผ่านทางระบบออนไลน์
วันที่จัดการประชุม 28 -29 ต.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัย นักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ที่สนใจ ประมาณ ๑๐๐ คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชพันธุศาสตร์เป็นการศึกษาถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมทั้งหมดที่ส่งผลต่อการใช้ยา เช่น ยาชนิดหนึ่งสามารถใช้ได้ดีกับคนส่วนใหญ่ แต่บางคนกลับใช้ไม่ได้ผล หรือเกิดผลข้างเคียงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต การศึกษาระดับจีโนมจะช่วยให้ได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์สำหรับการรักษา ช่วยให้แพทย์สามารถเลือกให้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีผลข้างเคียงหรือพิษของยาต่ำสุดแก่คนไข้เฉพาะราย ตัวอย่างเช่น จากการตรวจยีน HLA-B*1502 ก่อนการให้ยาต้านชัก carbamazepine มีรายงานว่าสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่แพ้ยาต้านชักดังกล่าวได้ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบการเพิ่มสิทธิประโยชน์ “การตรวจยีน HLA ในผู้ป่วยโรคลมชัก ก่อนเริ่มยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) เพื่อป้องกันผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง” ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจะเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อชาติอาจส่งผลต่อการตอบสนองต่อยาที่ต่างกัน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสถาบันจีโนมทางการแพทย์ริเก้น จึงได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการถอดรหัสพันธุกรรมยีนทางเภสัชพันธุศาสตร์ในอาสาสมัคร จำนวน 2,100 คน จากประชากรภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลางและยุโรปใต้ เพื่อศึกษาความแตกต่างทางด้านพันธุศาสตร์ของยีนที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพของยา และอาการไม่พึงประสงค์ผ่านกระบวนการเภสัชจลศาสตร์ในแต่ละกลุ่มประชากร โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแนวทางการรักษาที่นำข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์มาใช้ในการตัดสินใจในการรักษาสำหรับประชากรชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์จากเทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรมเน็กซ์เจเนอเรชัน สถานการณ์ปัจจุบันและการนำเภสัชพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการนำเภสัชพันธุศาสตร์มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์
1.ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ทราบข้อมูล ความก้าวหน้าการนำเภสัชพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน จากคณะผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
2.ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ทราบถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์ จากข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรม จาก 100 Pharmacogenes
3.สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และข้อมูลในการดำเนินงานวิจัยทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ไม่มีค่าลงทะเบียน