การประชุมวิชาการ
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม รุ่นที่ ๑
ชื่อการประชุม โครงการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม รุ่นที่ ๑
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-2-000-006-05-2562
สถานที่จัดการประชุม สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วันที่จัดการประชุม 03 มิ.ย. 2562 - 27 พ.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
กลุ่มเป้าหมาย ๕.๑ เภสัชกรสังกัดกรมสุขภาพจิต และ/หรือเภสัชกรสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๕.๒ วิทยากร ๕.๓ คณะทำงานจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 46 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคทางจิตเวชเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยโรคทางจิตเวชหลายชนิดส่งผล ให้เกิดภาวะทุพลภาพ และกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ให้ ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตของประชากรโลกมากขึ้น และคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ โรคซึมเศร้าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดภาวะทุพลภาพเป็นอันดับ ๒ รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโรคทางจิตเวชหลายชนิดเน้นการรักษาโดยใช้ยาเป็นหลัก เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ซึ่งโรคทางจิตเวชส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นโรคเรื้อรัง จึงต้องใช้ยารักษาในระยะยาว อีกทั้งยังพบปัญหา จากการใช้ยาเหล่านี้ได้บ่อย เช่น การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา ทั้งปฏิกิริยาระหว่าง ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (psychotropic drugs) ที่ใช้ร่วมกัน หรือปฏิกิริยาระหว่างยาที่ออกฤทธิ์ต่อ จิตและประสาทร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ ปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดขึ้นบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
การบริบาลทางเภสัชกรรม (pharmaceutical care) หมายถึงความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่ มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา และได้ผลการรักษาตามเป้าหมาย โดยเภสัชกรควรมีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย จากการใช้ยา คอยติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา ประเมินปัญหาจากการใช้ยา (drugrelated problems; DRPs) ที่อาจเกิดขึ้นและวางแผนร่วมกับแพทย์เพื่อป้องกัน หรือหาแนวทางแก้ไขกรณีที่ เกิดขึ้น ตลอดจนให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาแก่ผู้ป่วย (counseling) เพื่อให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาให้ มากที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยจิตเวชมีแนวโน้มความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (non-adherence) ที่สูงมาก เป็นผล เพิ่มความเสี่ยงต่อการกำเริบของโรค
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่เภสัชกรในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตเวช กลุ่มงานเภสัชกรรม สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จึงได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลเภสัช กรรม จำนวน ๑ รุ่น เป็นเวลา ๔ เดือน โดยจะเน้นการอบรมภาคทฤษฎีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้ง ภาคปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคทางจิตเวชได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ มีความสามารถ ดังนี้
๔.๑ สามารถให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคทางจิตเวชได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้ง สามารถนำหลักฐานทางวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้
๔.๒ สามารถริเริ่มและพัฒนาคุณภาพการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคทางจิตเวชในหน่วยงานโดย มีความสอดคล้องกับนโยบายด้านการให้บริการผู้ป่วยจิตเวช โดยนำหลักฐานทางวิชาการและประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย
คำสำคัญ