การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๒ เรื่อง “ชีวิตกับการเรียนรู้ในฐานะโรงเรียนแพทย์ (Life and Learning on the Premises of Medical School)”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๒ เรื่อง “ชีวิตกับการเรียนรู้ในฐานะโรงเรียนแพทย์ (Life and Learning on the Premises of Medical School)”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-015-04-2562
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
วันที่จัดการประชุม 05 เม.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ พยาบาล กลุ่มสหสาขาวิชาชีพทางสาธารณสุข คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน เจ้าหน้าท
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ด้วยศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ปรับโครงสร้างและนโยบายการดำเนินงาน โดยมีวิสัยทัศน์ใหม่ในการเป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิชั้นเลิศของประเทศ ให้บริการแบบบูรณาการและมุ่งมั่นสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงเห็นควรมุ่งเน้นเพิ่มพูนศาสตร์ “ความเป็นครู” ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา “ครูแพทย์” ด้วยเหตุที่ว่า บทบาทสำคัญของครูแพทย์คือการสร้างศิษย์ให้เป็นแพทย์ที่ดี ครูแพทย์จึงต้องมีเจตคติในการเป็น “ครู” มีความรู้ความเข้าใจในเชิงวิชาครู พร้อมกับมีความเป็นเลิศในเชิงวิชาการทางแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้หลักวิชาครูในการจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการผลิตแพทย์ คือ \"ครู\" ในกระบวนการผลิตแพทย์ มี ๓ ประการ ได้แก่ หลักสูตร ครูแพทย์และนักศึกษาแพทย์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด ครูแพทย์เป็นผู้อบรมสั่งสอน นักศึกษาแพทย์ให้มีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรต้องการ อาจกล่าวได้ว่าคุณภาพของครูแพทย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการผลิตแพทย์ ส่วนใหญ่ครูแพทย์มักจะมีความรู้ความสามารถในด้าน วิชาชีพแพทย์ แต่อาจด้อยในวิชาครุศาสตร์หรือความเป็นครู ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของครูแพทย์ ดังนั้นในการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ปี ๒๕๖๒ จึงได้นำประเด็น \"ชีวิตกับการเรียนรู้ในฐานะโรงเรียนแพทย์\" (Life and Learning on the Premises of Medical School)” มาเป็นหัวข้อหลักของประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๗ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาครูแพทย์ให้มีความรู้ความสามารถตลอดจนเจตคติในการเป็นครู โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหลากหลายวิชาชีพ อาทิ วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๒ Lunch conference เรื่อง Control chart in Quality Improvement และวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๒ ปาฐกถาเกียรติยศในหัวข้อหลัก \"ชีวิตกับการเรียนรู้ในฐานะโรงเรียนแพทย์\" โดย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และเวทีอภิปรายปุจฉา-วิสัชนา เรื่อง “บทบาทและความรับผิดชอบของโรงเรียนแพทย์ต่อแผ่นดิน” โดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้วางนโยบายระดับประเทศ และผู้นำชุมชน พบกับการบรรยายพิเศษในแต่ละห้องประชุมย่อย ได้แก่ หัวข้อ Interprofessional Education (IPE) Workshop Collaborative Practice , สถิติประยุกต์ Biostatistics in Clinical Research: Made Easy หน่วยระบาดวิทยาคลินิก สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ศาสตร์การแพทย์แผนไทยในฐานะภูมิปัญญาของชาติ เรื่อง “เวชศาสตร์เชิงประจักษ์และการบูรณาการ” โดยสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช , “บทบาทเภสัชกรในโรงเรียนแพทย์” โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล “Learning style ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านพัฒนาการและการเรียนรู้” โดยภาควิชาเวชศาตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล โดยนอกจากนี้ยังมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ แสดงผลงานวิจัยทั้งจากบุคลากรและบุคคลภายนอก ตลอดจนกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อดำรงอัตลักษณ์ความเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีงานวิจัยและวิชาการเป็นพื้นฐานในการดูแลสุขภาพ
2. เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นครูแพทย์ที่ดี
3. เพื่อให้บุคลากรมีเวทีในการแสดงผลงานวิชาการ/ผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้เข้าร่วมการประชุม ชำระเงิน ๓๐๐ บาท สำหรับผู้ส่งบทความเข้าร่วม ชำระเงิน ๖๐๐ บาท ซึ่งผู้ลงทะเบียนจะได้รับ กระเป๋า คูปองอาหาร เอกสาร ปากกา ฯลฯ กรุณาลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ที่ http://www.gj.mahidol.ac.th/tech/ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๒ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานการศึกษา วิจัยและวิชาการ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐๒-๘๔๙๖๖๐๐ ต่อ ๔๒๔๑, ๔๒๔๒