บทความวิชาการ
การพัฒนาระบบนำส่งยาในผู้ป่วยเฉพาะบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ
ชื่อบทความ การพัฒนาระบบนำส่งยาในผู้ป่วยเฉพาะบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ
ผู้เขียนบทความ ภก. กษิตพงษ์ ฐานะวุฑฒ์ และ ภก. ศ. ดร. พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-1-000-001-04-2562
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 เม.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 31 มี.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางพันธุกรรมในยีนที่ควบคุมการออกฤทธิ์ของยา ความแตกต่างของเพศและช่วงวัย มีผลต่อการตอบสนองต่อยาในการรักษาที่แตกต่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลของความแตกต่างเหล่านี้อาจจะส่งผลให้ยาออกฤทธิ์เพิ่มขึ้น มีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามากขึ้น หรืออาจทำให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม ซึ่งการรักษาแบบเดิม ที่ยาหนึ่งชนิดคาดว่าจะสามารถใช้ได้ผลกับคนส่วนใหญ่ อาจได้ผลในการรักษาที่แตกต่างกับคนบางกลุ่มได้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดแนวทางการรักษาแบบการแพทย์เฉพาะบุคคล (personalized medicine) ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเลือกวิธีการรักษาและการให้ยาในปริมาณที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย แม้แนวทางการรักษาแบบการแพทย์เฉพาะบุคคลจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น ลดอาการข้างเคียงจากยา และลดการได้รับยาในปริมาณที่เกินความจำเป็น แต่ปัญหาที่สำคัญคือการเตรียมยาให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วยเฉพาะรายค่อนข้างทำได้ยาก ด้วยเทคนิคที่ใช้อยู่ในระบบโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยาในปัจจุบัน แต่มีเทคโนโลยีการพิมพ์ในรูปแบบสามมิติ (3D printing technology) ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเตรียมยาในรูปแบบยาเม็ดชนิดรับประทานให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะรายได้ในอนาคต เทคโนโลยีการพิมพ์ในรูปแบบสามมิติ เป็นเทคนิคที่ใช้การออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วทำการพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์สามมิติออกมาลักษณะทีละชั้นไปเรื่อยๆจนได้เม็ดยาตามที่ต้องการ โดยเทคนิคการพิมพ์สามมิติที่นำมาศึกษาวิจัยในทางเภสัชกรรม ได้แก่ stereolithographic (SLA), powder based (PB), selective laser sintering (SLS), semi-solid extrusion (EXT) และ fused deposition modeling (FDM) ซึ่งแต่ละเทคนิคมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันในการที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรม แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังไม่ถูกนำมาใช้ทางเภสัชกรรมมากนัก เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิคการพิมพ์กับตัวยาสำคัญหรือสารช่วยต่างๆที่ใช้ในการผลิตยา และข้อกำหนดในการควบคุมเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ดังนั้นต้องมีการศึกษาพัฒนาต่อในอนาคต เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีนี้มาผลิตยาใช้ในการรักษาให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยกับผู้ป่วย
คำสำคัญ
เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ การแพทย์เฉพาะบุคคล ระบบนำส่งยา