บทความวิชาการ
Cryoprecipitate และการทำ Pathogen reduction ในพลาสมาและผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
ชื่อบทความ Cryoprecipitate และการทำ Pathogen reduction ในพลาสมาและผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
ผู้เขียนบทความ นศภ.ศุภัชฌา พาณิชย์วรชัยกุล และ ดร.ภก.นรินทร์ กิจเกรียงไกรกุล
สถาบันหลัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5001-1-000-001-12-2561
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 23 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 22 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Cryoprecipitate เป็นกลุ่มของโปรตีนที่มีคุณสมบัติตกตะกอนที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง มี coagulation factor หลายชนิด เช่น FVIIIc, FXIII, vWF ซึ่งมีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคฮีโมฟีเลีย เอ ภาวะการขาด fibrinogen และภาวะอื่น ๆ การเตรียม cryoprecipitate จะต้องใช้ความระมัดระวังมากเพื่อป้องกันการสูญเสีย FVIIIc ซึ่งเป็น labile factor การบริหาร cryoprecipitate จะต้องมีการคำนวณขนาดการให้ที่เหมาะสม โดยคำนวณตามปริมาณของ fibrinogen ที่ต้องการ และน้ำหนักตัวของผู้ป่วย การให้ cryoprecipitate สามารถเกิดอาการข้างเคียงที่อันตรายและมีข้อควรระวัง ซึ่งบางครั้งอาจมีอันตรายถึงชีวิตจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ และเนื่องจาก cryoprecipitate เป็นกลุ่มของโปรตีนจากพลาสมา ซึ่งการตรวจคัดกรองไม่สามารถคัดกรองเชื้อในช่วง window period รวมถึงเชื้อชนิดอื่น ๆ ที่มีโอกาสพบได้ในพลาสมา จึงควรมีการทำ pathogen reduction ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ละวิธีมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อได้แตกต่างกันไป ซึ่งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ใช้วิธี heat treatment ที่ 60 องศาเซลเซียสนาน 72 ชั่วโมงกับผลิตภัณฑ์ Heat Treated Freeze Dried Cryoprecipitate (HTFDC) ที่ทำการผลิต ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ HIV ได้ทั้งหมดและยับยั้งเชื้อไวรัสตับอักเสบได้บางส่วน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ
Cryoprecipitate, Coagulation factor, Plasma products