บทความวิชาการ
การจัดการความเสี่ยงของเชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหาร
ชื่อบทความ การจัดการความเสี่ยงของเชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหาร
ผู้เขียนบทความ สายันต์ รวดเร็ว
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-1-000-003-08-2561
ผู้ผลิตบทความ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 06 ส.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 05 ส.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance : AMR) เป็นหนึ่งในวิกฤตระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนและสัตว์พบว่าสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์ของประเทศไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเข้าขั้นน่าวิตก นอกจากนี้ เชื้อดื้อยายังเป็นปัญหาที่สำคัญในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคของประเทศ โดยหนึ่งในสาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการทำปศุสัตว์และมีการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมากทั้งเพื่อการป้องกันและบำบัดโรค Codex ได้ประกาศใช้เอกสารมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในห่วงโซ่อาหาร จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) Code of Practice to minimize and contain antimicrobial resistance (CAC/RCP 61-2005) และ (2) Guideline for risk analysis of foodborne antimicrobial resistance (CAC/GL 77-2011) จากการประชุม TFAMR 5 ดังกล่าว ที่ประชุมพิจารณาเอกสาร Proposed draft revision of Code of Practice to Minimise and Contain Antimicrobial Resistance (CXC 61-2005) และ Proposed draft Guidelines on integrated surveillance of antimicrobial resistance สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564
คำสำคัญ
Risk management, antimicrobial resistance