บทความวิชาการ
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยกระดูกพรุน
ชื่อบทความ การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยกระดูกพรุน
ผู้เขียนบทความ ภก.อ.ดร. ณัฐวุฒิ ลีลากนก
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-001-03-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 16 มี.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 15 มี.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นโรคที่เมตาบอลิซึมของกระดูกผิดปกติ โดยกระดูกที่สร้างขึ้นจะมีอัตราส่วนของแร่ธาตุและคอลลาเจนในปริมาณที่เหมาะสมแต่การสร้างกระดูกไม่ทันต่อการสลายกระดูก กระดูกพรุนเป็นโรคกระดูกที่พบบ่อยและมักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุนและมักเข้ารับการรักษาเมื่อผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากโรคแล้ว เช่น กระดูกแตก กระดูกหัก ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ จิตใจ และเพิ่มค่าใช้จ่ายแก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันกระดูกแตก โดยออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักและออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ที่ต้องใช้ยาเพื่อรักษาภาวะกระดูกพรุน ควรได้รับ bisphosphonates เป็นยาแรกในการรักษาทั้งในเพศชายและหญิงเนื่องจากลดอัตรากระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกหักได้ ยาต่อมาที่ใช้เมื่อยาแรกไม่ได้ผล ได้แก่ raloxifene (เฉพาะในผู้หญิง) และสงวนยา teriparatide ไว้ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยากลุ่ม bisphosphonates
คำสำคัญ
โรคกระดูกพรุน กระดูกแตก