บทความวิชาการ
Prevention, Detection, Evaluation, and Management of High Blood Pressure in Adults: Updated on American College of Cardiology/American Heart Association 2017
ชื่อบทความ Prevention, Detection, Evaluation, and Management of High Blood Pressure in Adults: Updated on American College of Cardiology/American Heart Association 2017
ผู้เขียนบทความ ภก. กฤติน บัณฑิตานุกูล
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2005-1-000-003-11-2560
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 พ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 29 พ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ข้อมูลจากการศึกษา the National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES) พบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรประมาณ 50 ล้านคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและจำเป็นต้องได้รับการรักษา1,2 รวมทั้งมีการคาดการณ์ว่าความชุกของผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจจะสูงถึง 1 พันล้านคน โดยที่มีผู้เสียชีวิตจากภาวะความดันโลหิตสูงประมาณ 7.1 ล้านรายต่อปี3 องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่าระดับความดันโลหิตที่สูงกว่า 115 mmHg จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ประมาณร้อยละ 62 และโรคหัวใจขาดเลือดประมาณร้อยละ 493 นอกจากนี้ข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าความเสี่ยงในการเกิด stroke, myocardial infarction (MI), angina, heart failure (HF), kidney failure และการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความดันโลหิต สําหรับในประเทศไทยจากรายงานของสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากรแสนคนในภาพรวมของประเทศในปี พ.ศ. 2556-2558 เท่ากับ 8.09, 18.28 และ 25.32 ตามลําดับ ซึ่งอัตราในปีพ.ศ. 2558 จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าจากปี 2556 และจากการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 (พ.ศ.2551-2552) พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูงเกือบ 11 ล้านคน โดยร้อยละ 60 ในเพศชายและร้อยละ 40 ในเพศหญิงไม่รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง, ร้อยละ 8-9 ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการ และมีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ที่ได้รับการรักษาและสามารถควบคุมความดันโลหิตได้4
คำสำคัญ
High Blood Pressure in Adults