บทความวิชาการ
โภชนบำบัดสำหรับภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญมากผิดปกติ
ชื่อบทความ โภชนบำบัดสำหรับภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญมากผิดปกติ
ผู้เขียนบทความ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ พญ. วิภากรณ์ เพิ่มพูล พญ. วิมลจันทร์ วุฒิคงสมบัติ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-009-12-2560
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 28 พ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 27 พ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ (Small Intestinal Bacterial Overgrowth; SIBO) เป็นภาวะที่มีปริมาณของแบคทีเรียในลำไส้ (colonization) เพิ่มจำนวนมากขึ้น พบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุ ได้แก่ Streptococci, Bacteroides, Escherichia และ Lactobacillus โดยผู้ป่วย SIBO จะแสดงอาการท้องอืด มีลมในท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย พยาธิสภาพของโรคอธิบายได้จาก ภาวะกรดในกระเพาะอาหารน้อยเกินไป การเคลื่อนตัวของระบบลำไส้ผิดปกติ หูรูดขั้นระหว่างลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ผิดปกติ SIBO ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการดูดซึมไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและวิตามินที่ผิดปกติ โดยเฉพาะภาวะการขาดวิตามินบี 12 และหากเป็นเรื้อรังอาจส่งผลต่อระบบร่างกายอื่น เช่น เลือด สมอง ตับ เป็นต้น การรักษา SIBO แนะนำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการควบคุมด้วยอาหาร โดยจะเน้นการควบคุมอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ Low FODMAP Diet, SCD และ Bi-phasic Diet เพื่อช่วยควบคุมปริมาณการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เล็ก โดยในบทความนี้จะได้กล่าวถึงรูปแบบการควบคุมอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ผู้อ่านได้นำความรู้ไปประยุกต์เสริมคำแนะนำสำหรับผู้มารับบริการด้วยปัญหา SIBO ต่อไป
คำสำคัญ
ประเทศไทยยังไม่มีรายงานข้อมูลสถิติการพบภาวะดังกล่าวมาก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหน ส่วนรายงานในต่างประเทศมั