บทความวิชาการ
บทบาทเภสัชกรกับการดูแลผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัด
ชื่อบทความ บทบาทเภสัชกรกับการดูแลผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัด
ผู้เขียนบทความ อ.ภญ. จันทนา ห่วงสายทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-005-01-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 15 พ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 14 พ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การได้รับการบาดเจ็บจากการถูกสัตว์กัดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั้งในสถานพยาบาลและร้านยา ดังนั้น นอกจากการให้การรักษาบาดแผลจากการถูกสัตว์กัดแล้ว การให้คำแนะนำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันบาดทะยักและป้องกันการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของเภสัชกรที่ควรให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละรายได้ จากข้อมูลของสถานเสาวภา1 พบว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาร้อยละ 85 เกิดจากสุนัขกัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขจรจัดและสุนัขที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 10 เกิดจากแมวกัด และร้อยละ 3 เกิดจากหนูกัด ความเสี่ยงและความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยแต่ละราย (ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เบาหวาน ผู้สูงอายุ เป็นต้น) ตำแหน่งของบาดแผล และประวัติภูมิคุ้มกันต่อบาดทะยัก และโรคพิษสุนัขบ้าของผู้ป่วย ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยของการให้การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บจากการถูกสัตว์กัด2,3 ได้แก่ ผู้ป่วยละเลยการดูแลบาดแผลหลังถูกสัตว์กัด เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลช้าเกินไป ไม่ได้รับยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ไม่ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนภายหลังจากการเกิดบาดแผล รวมถึงไม่ได้รับอิมมูโนโกลบุลินเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในการรักษาบาดแผลที่รุนแรง ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
คำสำคัญ
สัตว์กัด, วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก, วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิกได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/member.php

เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe