บทความวิชาการ
ประสิทธิภาพของสมุนไพรขิงในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพของสมุนไพรขิงในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.สุภัสร์ สุบงกช
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-003-03-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 31 มี.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 30 มี.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ขิง (ginger) เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ดร้อน มีการใช้อย่างกว้างขวาง โดยเป็นส่วนประกอบ ของอาหารของชาวเอเชีย ขิงมีสรรพคุณเป็นยา ทั้งในตำรับยาไทย จีน และแพทย์อายุรเวท โดยเหง้าของขิงแก่ มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ท้องผูก เหงือกอักเสบ แก้ไอขับเสมหะ บรรเทาข้ออักเสบ รักษาอาการปวดศีรษะรวมทั้งช่วยกระตุ้นการอยากอาหาร1 โดยสารสำคัญจากการสกัดเหง้าขิงแก่ที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน คือ 6-gingerol และ 6-shogoal มีฤทธิ์ยับยั้งที่ serotonin (5-HT3) receptor และมีคุณสมบัติเป็น anti-neurokininergic activity ซึ่งเป็นกลไกหลักในพยาธิสรีรวิทยาของอาการคลื่นไส้อาเจียน จากการรวบรวมรายงานผลการศึกษาทางคลินิก พบว่าเหง้าขิงแก่สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอาการเมารถ เมาเรือ และในผู้ป่วยที่เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลัง การผ่าตัด นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะข้ออักเสบ ปวดศีรษะไมเกรน และ สามารถใช้ได้ อย่างปลอดภัยในระยะยาว ฤทธิ์ในการต้านการคลื่นไส้อาเจียนของสารสกัดขิง ทำให้มีการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ ของ gingerol และ shogoal ต่อการต้านอาการคลื่นไส้อาเจียน และความปลอดภัยในการใช้ทั้งใน เซลล์เพาะเลี้ยง ในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ โดยพบว่า gingerol และ shogoal สามารถกระตุ้น การหลั่งน้ำลาย น้ำดี น้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อในทางเดินอาหาร (tone of the intestinal muscle) และเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหาร (peristalsis) ทำให้เพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ (increasing gastric motility) เพิ่ม gastric emptying จึงสามารถลดการไหลย้อนกลับของอาหารได้ ในบทความนี้ผู้นิพนธ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนการศึกษาวิจัยของการนำขิงมาใช้ประโยชน์ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยสภาวะโรคต่างๆ
คำสำคัญ
ขิง, คลื่นไส้อาเจียน, ginger, Zingiberaceae, Zingiber officinale Roscoe