บทความวิชาการ
Chitosan nanoparticles for nasal vaccine
ชื่อบทความ Chitosan nanoparticles for nasal vaccine
ผู้เขียนบทความ ภก.อนวัช มิตรประทาน
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-004-03-2560
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 มี.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 29 มี.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วัคซีนที่ให้ทางจมูกมีข้อดีหลายประการ เช่น ไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา เป็นการให้วัคซีนแบบไม่มีการทำลายและไม่มีความเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยมีการยอมรับมากกว่า แต่ที่สำคัญคือในช่องจมูกมีพื้นที่ผิวขนาดใหญ่ของ microvilli ซึ่งมีเนื้อเยื่อ endothelial ที่มีรูพรุนและมี epithelium ที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมากส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็ว นอกจากนี้ยังสามารถนำส่งยาเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้โดยตรงและมีการทำลายโดยเอนไซม์ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ให้ทางปากเนื่องจากไม่ผ่าน first-pass metabolism แต่อย่างไรก็ดีวัคซีนที่ให้ทางจมูกก็มีข้อจำกัด คือ แอนติเจนมีระยะเวลาในการอยู่ในช่องจมูกสั้นเนื่องจากมีระบบการกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดย mucociliary และสูตรตำรับวัคซีนที่ให้มีความสามารถในการแพร่ผ่านเนื้อเยื่อต่ำ ดังนั้นวัคซีนที่ให้ทางจมูกจำเป็นต้องมีแอดจูแวนท์ที่มีประสิทธิภาพและระบบการนำส่งที่จะช่วยเพิ่มการตอบสนองทางภูมิต้านทานโรคและช่วยป้องกันแอนติเจนจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ไคโตซานเป็นโพลิเมอร์ที่มีราคาถูก ไม่เป็นพิษ มีคุณสมบัติเป็น biocompatible และ biodegradable รวมทั้งสามารถเกาะติดกับเยื่อเมือกได้ดี มีการศึกษาไคโตซานนาโนพาร์ติเคิลว่ามีคุณสมบัติในการปลดปล่อยยาและวัคซีนแบบออกฤทธิ์เนิ่น มีผู้วิจัยหลายคนทำการดัดแปลงไคโตซานนาโนพาร์ติเคิลโดยการให้โพลิเมอร์อื่นร่วมด้วย เช่น โซเดียมอัลจิเนต หรือดัดแปลงไคโตซานด้วยโพลีเอทธิลีนไกลคอล (PEGylation) ก่อนการทำเป็นนาโนพาร์ติเคิลหรือให้ไคโตซานนาโนพาร์ติเคิลร่วมกับแอดจูแวนท์อื่นหรือ immunomodulator เพื่อเสริมฤทธิ์กัน นอกจากนี้ยังมีการเติมหมู่แมนโนสให้ไคโตซานเพื่อให้ไปจับกับรีเซฟเตอร์ที่จะนำไปสู่ antigen-presenting cells ซึ่งผลการศึกษาได้กล่าวไว้ในบททบทวนงานวิจัยนี้
คำสำคัญ
ไคโตซาน, ไคโตซานนาโนพาร์ติเคิล, วัคซีนที่ให้ทางจมูก, แอดจูแวนท์, การเกาะติดกับเยื่อเมือก, โซเดียมอัล