บทความวิชาการ
Astaxanthin: Sources, extractions and commercial applications
ชื่อบทความ Astaxanthin: Sources, extractions and commercial applications
ผู้เขียนบทความ ดร.ภก.สุริยัน เต็งใหญ่
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-002-03-2560
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 มี.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 29 มี.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
แอสตาแซนธิน (astaxanthin) เป็นสารประกอบจำพวกแคโรทีนอยด์ (carotenoid) สีแดง สามารถพบได้มากในสาหร่าย Haematococcus pluvialis สูงถึง 3.8% (dried weight) จึงถือเป็นแหล่งสำคัญของสาร astaxanthin(1) สำหรับในทางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี 1) เซลล์สาหร่าย H. pluvialis ที่ผลิตสาร astaxanthin ได้ปริมาณมาก จะอยู่ในช่วงที่เป็น cyst cell ซึ่งจะมีผนังเซลล์หนา 2) สาร astaxanthin มีความไวต่อแสงแดด และความร้อน และ 3) สาร astaxanthin ที่พบในสาหร่าย H. pluvialis มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ สาร astaxanthin อิสระ (5%) โมโนเอสเทอร์ (Monoester) (70%) และ ไดเอสเทอร์ (Diester) (25%)(2) ทำให้เกิดความยุ่งยากในการผลิตเซลล์สาหร่ายแห้ง หรือการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ บทความนี้จึงสรุปข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสาร astaxanthin รวบรวมการศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมเซลล์สาหร่ายแห้ง ขั้นตอนการทำลายผนังเซลล์ก่อนสกัดด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม กระบวนการเปลี่ยน astaxanthin ester เป็น astaxanthin อิสระ รวมถึงการวิเคราะห์ปริมาณสาร astaxanthin
คำสำคัญ
Astaxanthin Haematococcus pluvialis Carotenoid